ภูมิใจจดหมายเด็ก ๆ

ย่อมเป็นความภูมิใจอย่างหนึ่งของครู ที่เด็ก ๆ อ่านหนังสือได้ เขียนหนังสือเป็น เพราะเด็กชาวเขา ไม่เหมือนกับเด็กชาวเรา (คนไทยพื้นเมือง) เด็กบนดอย จะมีภาษาพูด ที่แตกต่างจากเด็กไทย ทั่วไป การคิดก็ย่อมคิดออกมาเป็นภาษาที่พูด การเขียนเท่านั้นไม่มีในภาษาชนเผ่า ต้องใช้ภาษาไทยในการเขียน เมื่อขึ้นดอยไป แล้วเด็ก ๆ เล่าให้ฟังว่า “ผมเขียนจดหมาย ครับครู” จึงเป็นเรื่องแปลกใจ และอดภูมิใจไม่ได้ที่เด็ก ๆ กล้าท่ายทอดความคิด ออกมาเป็นตัวหนังสือ ทั้ง ๆ ที่ไม่ค่อยได้สอนให้เด็ก ๆ เขียนมาก่อน ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้ง ที่เด็ก ๆ ทำให้ครูภูมิใจในความสามารถของเด็ก ๆ ที่มี และดีใจที่สิ่งที่เคยสอนไปไม่เสียเปล่า เด็ก ๆ สามารถนำมาถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด ออกมาเป็นตัวอักษรได้ ถึงแม้จะเป็นตัวอักษร และสำเนียงแบบเด็ก ๆ แต่เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ และใสซื่อ ถึงแม้จะเขียนผิดบ้างในบางคำ สิ่งที่เด็ก ๆ แสดงออกมา แม้จะไม่ทัดเทียมกับเด็กพื้นราบก็ตาม แต่ก็แสดงถึงความสามารถและศักยภาพของเด็กดอย ที่ “ครูดอย

โหยหาธรรมชาติ จิตวิญญาณครูบ้านนอกบนดอย

httpv://www.youtube.com/watch?v=6VBooz-RJ48 เพราะอมก๋อย เป็นอำเภอห่างไกล จึงได้มีโอกาสดูวีดีทัศน์เรื่องครูบ้านนอกเป็นครั้งแรก หลังจากที่หนังได้ฉายจริงมาเป็นปี ในหนังเรื่องนี้มีประโยคเด็ด ๆ ของครูบ้านนอก ในฐานะที่เป็นคนบ้านเดียวกับคนทำหนัง มันเป็นคำพูดที่กินใจ เข้าถึงหัวจิตหัวใจของครูดอย เพราะความที่เคยลำบาก เมื่อถึงเวลาที่เราก้าวผ่านจุดนั้นมา จึงอยากหวนกลับไปช่วยคนที่เคยลำบากเหมือนกัน แต่ความลำบากบนดอย มันลำบากเอามาก ๆ ต่างกับชีวิตจริง ที่เคยลำบากมา ต่างกับในหนังเรื่องครูบ้านนอก ความที่เคยอยู่กับชนบท ธรรมชาติ เมื่อถึงวันนึง ทุกคนก็ต้องคิดถึงอดีต คิดถึงความขมขื่น คิดถึงความสุข ในความยากลำบาก ความสุขในยามยากท่ามกลางธรรมชาติ มันเป็นความสุขที่คนในยุคปัจจุบันต่างโหยหา น้ำท่วมมาเป็นเดือน จากภาคเหนือ ลงภาคกลาง เข้าเมืองกรุงเทพฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขอแสดงความเสียใจกับผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนในครั้งนี้ หรือนี่เป็นอีกครั้งที่จะทำให้คนคิดถึงธรรมชาติ โหยหาธรรมชาติกันมากขึ้น

เมื่อถึงวันลาจาก แต่ไม่ได้จากลา (หน้าที่เปลี่ยนไป ความตั้งใจเหมือนเดิม)

บางครั้งความตั้งใจที่จะทำงานในแต่ละที่แต่ละอย่าง มันก็มีเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลง เพราะความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตการทำงาน และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้ตั้งใจ เมื่อ ผอ.กศน.อำเภออมก๋อยคนใหม่ที่เพิ่งมารับตำแหน่งได้ ๓ เดือน สำหรับผมอาจจะหมายถึงผู้บังคับบัญชาเก่า หรืออาจจะเรียกว่าเจ้านายเก่า ที่เห็นมองศักยภาพความสามารถที่จะดึงมาเป็นทีมงาน   ก่อนหน้า นั้น ก็ได้แจ้งท่านผอ.ไปแล้วว่าชอบทำงานบนดอยมากกว่า แต่สุดท้ายก็ได้รับการพิจารณาให้ปรับเปลี่ยนหน้าที่ใหม่ ผมจึงถูกเรียกตัว จากครูผู้สอนบนดอย ให้มารับหน้าที่ใหม่เป็นครูนิเทศก์ ของกลุ่มโดยดูแลกลุ่มบ้านแม่ฮอง ซึ่งปรับกลุ่มใหม่ประกอบไปด้วย ศศช. บ้านห้วยหวาย บ้านแม่ฮองใต้ บ้านแม่ฮองกลาง บ้านแม่เกิบ บ้านกองดา และบ้านห้วยบง   ตั้งแต่วันแรกที่ขึ้นดอยในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่จะเป็นครูผู้สอน ศศช.บ้านแม่ฮองกลาง ตลอดเวลาก็ได้แจ้งให้เด็ก ๆ ได้เข้าใจในหน้าที่ใหม่ที่ครูจะไปทำ ก็ได้บอกกับเด็ก ๆ ตลอดว่าครูจะขึ้นมาบ่อย ๆ เท่าที่จะทำได้ ดูเหมือนว่าเด็กก็คือเด็ก คือฟังไปแต่ยังไม่คิดอะไรมากมาย จนเมื่อมาถึงวันสุดท้ายที่จะต้องลงดอยจากบ้านแม่ฮองกลางมา ก็เกิดปรากฎการณ์ที่ผมไม่คาดคิดมาก่อน “เด็ก ๆ พากันไปร้องไห้ เสียใจที่ครูจากไป” ทั้งตัวเล็ก ตัวโต ไปร้องไห้หน้าห้องน้ำหลังอาคารเรียน   เด็ก ผู้ชายดูจะเก็บความรู้สึกไว้ได้

ของดีใกล้ตัว

เคยแต่สงสัยว่า ทำไมคนสูงอายุเผ่ากะเหรี่ยงที่อมก๋อย ทำไมยังสุขภาพยังแข้งแรงดีอยู่ บางคนฟันหลุดหมดปากกันแล้ว บางคนเดินก็ใช้ไม้เท้าค้ำไป บางคนหลังโก่ง แต่ยังไปไหนมาไหนคล่องแคล่วเหลือเกิน ทั้ง ๆ ที่อาหารหลักที่กินกันในแต่ละมื้อ แทบจะไม่มีเนื้อหมู ไก่ เลย นาน ๆ ถึงจะได้กินกันทีนึง หลังจากที่ได้สังเกตุวัฒนธรรมการกินอาหารแล้ว ถึงได้รู้ว่า อาหารหลัก ๆ ที่มีตามฤดูกาลบนดอยนั่นเอง เป็นสมุนไพรดี ๆ ที่ช่วยให้คนแก่ แข็งแรง อายุยืนยาว ผักที่ว่านั้นคือมะเขือพวง ผักชีฝรั่ง และขมิ้นชัน มะเขือพวง ถ้าได้รับการดูแลอย่างดี จะผลิดอกออกผลตลอดปี แม้แต่ในช่วงหน้าแล้ง ส่วนผักชีฝรั่งและขมิ้นชัน จะเจริญงอกงามดีในฤดูฝน เพราะส่วนใหญ่เกิดตามธรรมชาติ และอาหารตามธรรมชาติเหล่านั้นนั่นเอง ที่กลายเป็นของดีที่คนในชุมชนบริโภคกันโดยไม่รู้ตัว ว่ามันมีคุณค่ามากมาย มะเขือพวง และผักชีฝรั่ง สามารถปรุงอาหารได้หลายอย่าง ตั้งแต่พื้น ๆ คือกินกับน้ำพริก ใส่แกง ใส่ลาบ เห็นโฆษณาทางทีวีว่ามีน้ำมะเขือพวงปั่น ส่วนขมิ้นชันนั้นสามารถนำมาปรุงอาหารได้หลายส่วน ทั้งเหง้าที่อยู่ในดินเอาใส่ต้มแกง ลำต้นอ่อน ต้มจิ้มน้ำพริก และดอกนำมาผัดน้ำมัน หรือต้มจิ้มน้ำพริก หลาย

เมื่อความจำเป็นเรื่องปากท้อง สำคัญกว่าการเรียน

กรกฎาคมต่อไปยังเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่ลำไยออกสู่ทองตลาด ปีนี้ถึงแม้ลำไยในท้องตลาดจะราคาไม่ดี ลำไยขนาด AA ราคากิโลละ ๑๕-๑๖ บาท แต่ผลกระทบตกอยู่กับเจ้าของสวนเท่านั้น สำหรับชาวบ้านบนดอยและเด็กโตที่มารับจ้างขึ้นลำไย กลับไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะปีนี้ลำไยออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก (ตามความเห็นของผู้เขียน) เด็ก ๆ อายุ ๑๒-๑๖ ปีในหมู่บ้านหลายคนจึงออกมากับผู้ปกครอง มากับญาติ หรือมากับเพื่อน เพื่อมาหารายได้เสริมไปช่วยจุนเจือครอบครัว การเดินทางออกมารับจ้าง บางส่วนก็ออกมากับรถขายอาหารที่เข้าไปตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งฝนยังไม่ตกมาก  พอถึงปลายกรกฎาคมเดือนฝนตกชุกคนที่ออกมาหลัง ๆ จึงเดินเท้าออกจากหมู่บ้านแม่ฮองกลาง ออกมาทางบ้านแม่ปะน้อย บ้านห้วยม่วง ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย เพื่อมาขึ้นรถทางปากทางอุทยานแห่งชาติแม่เงา อำเภอสบเมย เพื่อขึ้นรถโดยสารต่อเข้าอำเภอแม่สะเรียง เข้าอำเภอฮอด และอำเภอจอมทอง บางส่วนข้ามแม่น้ำปิงไปยังฝังจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตลำไย แหล่งใหญ่ในภาคเหนือ การออกมาทำงานปีนี้ถือเป็นครั้งแรกของเด็กหลาย ๆ คนที่ได้ออกมาทำงานนอกหมู่บ้าน ครั้นจะห้ามเด็กออกนอกหมู่บ้านก็ไม่ได้ ในเมื่อความจำเป็นเรื่องปากท้อง ยังเป็นสิ่งที่พ่อแม่ หรือแม้แต่ตัวเด็ก ๆ เองก็รับรู้ได้ ว่าหากท้องยังไม่อิ่มแล้ว มีหรือจะมีคิดเรื่องชีวิต เรื่องอนาคตได้ เรื่องของปากท้องจึงสำคัญกว่าเรื่องอื่นเสมอ เพราะชีวิตตั้งแต่เกิดมาก็มีแต่น้ำพริกเป็นอาหารหลักสามมื้อ เช้า-กลางวัน-เย็น

จะเข้าอมก๋อยแต่น้ำท่วมฮอด

หลังจากไปหยุดพักผ่อนประจำเดือนตั้งแต่ ๒๘ ก.ค. และเดินทางเข้าอมก๋อยในวันที่ ๓ ส.ค. มีกำหนดถึงเข้าประชุมประจำเดือนก่อนการขึ้นดอยในวันที่ ๕ ส.ค. แต่การเดินทางครั้งนี้ ไม่เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมาในรอบ ๑ ปี ๕ เดือน ตั้งแต่ไปอยู่อมก๋อย ระหว่างอยู่ไชยปราการ มีพายุนกเต็นเข้า ทำให้ฝนตกบ้าง แต่ที่ไชยปราการ ไม่มีน้ำท่วม หรือผลกระทบรุนแรง จึงออกเดินทางในวันที่ ๓ ส.ค. เพื่อเข้าอมก๋อย เพราะต้องไปต่อรถที่ตัวเมืองเชียงใหม่ ก่อนจะขึ้นรถ ก็ได้ถามคนขับว่ารถเข้าอมก๋อยได้หรือเปล่า เพราะได้ข่าวว่าน้ำท่วมถนนสัญจรไม่ได้บางช่วง ก็ได้คำตอบมาว่า น่าจะเข้าได้ เพราะเมื่อเช้าก็ออกมาจากอมก๋อย พอขึ้นรถสักพัก พนักงานเก็บค่าโดยสารก็มาเก็บเงิน ผมจ่ายไปจำนวนเงิน ๑๑๓ บาท ปรากฎว่าเรื่องแปลกเกิดขึ้น พนักงานเก็บค่าโดยสาร บอกว่าตีตั๋วไปลงที่ฮอดแทนแล้วกัน ๔๙ บาท ถ้าไปอมก๋อยได้ค่อยจ่ายเงินเพิ่ม ชักเริ่มเอะใจ เมื่อรถมาถึงน้ำแม่แจ่มอีก ๒๐๐ เมตรจะเข้าอำเภอฮอดอยู่แล้ว รถข้ามสะพานไม่ได้ ถึงได้เห็นน้ำท่วมเต็ม ๆ ตา โหตั้งแต่เกิดมา เป็นลูกอิสาน บ้านติดแม่น้ำชี

เลือกตั้งที่อมก๋อย

การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ นักการเมืองที่เสนอผลประโยชน์เป็นที่ถูกใจของประชาชน ย่อมได้รับฉันทามติ ฉันใด ก็ฉันนั้น ไม่พ้นแม้แต่บนดอยห่างไกลอย่าง อมก๋อย นักการเมืองที่เสนอจะพัฒนาอมก๋อย ย่อมได้รับเสียสนับสนุนจากคนอมก๋อย หลังจากเข้าอบรมเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ถัดมารับหีบและอุปกรณ์ เพื่อเดินทางขึ้นไปเตรียมพื้นที่เพื่อเป็นหน่วยเลือกตั้ง หมู่ ๑ ตำบลนาเกียน ซึ่งในหน่วยเลือกตั้ง ณ ศูนย์การเรียน วันขนหีบเลือกตั้งขึ้นไปจึงรู้สึกสบาย ๆ เพราะมีแดดบ้าง ถนนแห้งดินแข็งรถจักรยานยนต์พอวิ่งได้ ขบวนรถจักรยายนต์ของกรรมการเลือกตั้ง ถึงจุดหมายปลายทางอย่างไม่เกินความคาดหมายมากนัก วันเลือกตั้งฝนกระหน่ำลงมาแต่เช้า แต่ชาวบ้านก็ทะยอยมาใช้สิทธิ์ตั้งแต่เปิดหีบ ยันปิดหีบ หมู่ ๑ ตำบลนาเกียน มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ๒๓๘ คน มีผู้มาใช้สิทธิ์จำนวน ๒๐๖ คน ถือว่าสูงมาก ชาวบ้านชุมชนให้ความสนใจกับการเลือกตั้งเป็นอย่างมาก หลังนับคะแนนเสร็จในเวลา ๑๘.๐๐ น. ต้องเอาหีบเลือกตั้งมีขึ้นรถครูศักดิ์ บ้านห้วยบง ปรึกษาหารือกันเรื่องสภาพถนน ก็เจอสภาพปัญหาอย่างที่คิดไว้ไม่มีผิด กว่าจะส่งหีบเลือกตั้งแล้วเสร็จเกือบ ๒ นาฬิกาของวันที่ ๔ กรกฎาคม สำหรับสภาพถนนก็อย่างที่เห็นในภาพและวีดีโอ ส่วนหลังจากนี้ไป ก็ไม่รู้ว่านักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งจะทำตามสัญญาหรือไม่ นั้นคือการพัฒนาอมก๋อย ด้านถนนหนทาง

หลังคารั่ว ฝนลมแรง อ้อยล้ม

๑ ปีที่ผ่านมาตั้งแต่มาอยู่ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่ฮองกลาง ผมผ่านฤดูฝนมาแล้ว ๑ ฤดู และกำลังจะเข้าอีก ๑ ฤดู แต่ “ทำไมสังกะสี มันผุพังเร็วจังหว่า” เป็นคำบ่นในใจคนเดียว ที่ได้เห็นสภาพฝนตก แล้วต้องเอาถังมารองน้ำรอบ ๆ ศูนย์การเรียนเมื่อเวลาฝนตก ปี ๒๕๕๓ ที่ผ่านมา เริ่มมาอยู่ในชุมชนเป็นฤดูแล้ง  พอเข้าฤดูฝนดินที่ทับถมผนังอาคารเรียน ทำให้ไม้ผุพัง ไม่รู้ว่าดินถล่มลงมาทับตั้งแต่ปีไหน แต่รู้ได้ว่าตอนนั้นผนังอาคารเรียนมันโดนปลวกกินไปเยอะแล้ว คิดว่ารอไม่ไหวแล้ว รอก็ไม่มีงบมาซ่อม เพราะระบบราชการ งบประมาณไม่เพียงพอ จึงเป็นที่มาของคำว่า “โรงเรียนดิน” ปรับปรุงผนังอาคารเรียนกับเด็ก ๆ และคนในชุมชน พร้อมทั้งเปิดให้ผู้ใหญ่ใจดีเข้าไปทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ ๕๔ ที่ผ่านมา เข้า เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๕๔ ฝนกระหน่ำลงมาตลอด ไม่ได้สานต่อผนังดินให้เสร็จสิ้น แต่ปัญหาเรื่องผนังอาคารเรียนก็ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป มาเจอปัญหาใหม่ “หลังคารั่ว” งานเข้าอีกแล้ว เมื่อได้ไปสำรวจดูดี ๆ จึงได้รู้ว่าสังกะสีที่ใช้อยู่เป็นสังกะสีมือสอง มีรอยตะปูโหว่เกือบทุกแผ่น ปีนี้คงอาการหนัก

อบรม…อบรม…(อบรมบ่มนิสัย)

ก่อนขึ้นดอยเดือนมิถุนายน ทราบว่ามีชื่อติดโผ ในรายชื่อผู้ที่ต้องไปอบรมที่ลำปาง อบรมอีกแล้ว อบรมอะไรก็ไม่รู้ รู้แต่ว่าต้องไปอบรม ทำให้ผมอิดออด อยากทำงานในพื้นที่มากกว่า ไม่อยากไปอบรม ด้วยเพราะมีเรื่องราวไม่ค่อยดีเกี่ยวกับการที่ครูต้องไปอบรม ที่ได้ยินอยู่บ่อย ๆ เสียงส่วนใหญ่ของชาวบ้านในพื้น เป็นเสียงสัญญาณไปในทางลบที่กล่าวหาว่าครูมัวแต่ไปอบรม ทำงานบนดอยไม่เต็มที่ เป็นเหตุให้ผมไม่อยากไปอบรม อีกประการคือคนที่ถูกส่งไปอบรมหลาย ๆ ครั้งที่ผ่านมา ไม่เห็นเอามาใช้ในงานเลย ไม่เห็นมาบอกมาเล่าเลยว่าไปอบรมอะไรมา จะเอามาใช้ในงานอย่างไรบ้าง ด้วยเหตุผลนานาประการ ผมจึงรอครูนิเทศก์อยู่บนดอยกะว่า ถ้าขึ้นไปนิเทศก์รอบนี้ จะบอกว่าผมไม่ไปอบรมได้ไหมให้น้อง ๆ คนรุ่นใหม่ไฟแรง ไปอบรมแทนดีกว่า ผมจะขอทำงานในพื้นที่ แต่ผิดคาดครับ ครูนิเทศก์ไม่ได้เข้าไปที่บ้านแม่ฮองกลาง ด้วยถนนที่เข้าลำบากมาก เพราะถนนเป็นดินเหนียว ถนนทำใหม่ โดนฝนเข้าไป เละเป็นโคลนครึ่งขา ทำให้ผมต้องตะกายทั้งเข็ญทั้งดัน รถจักรยานยนต์คู่ชีพเพื่อนเดินทาง ลงดอยมาในวันกำหนดไปอบรม ลงมาถึงอมก๋อย ก็พยายามสอบถามหาข้อมูลว่าไปอบรมอะไร ได้ข้อมูลแต่เพียงว่าให้นำคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คไปด้วย กำหนดการณ์อย่างอื่นยังไม่ได้คำตอบ เมื่อเดินทางไปถึงสถานที่อบรม ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง บรรยากาศการอบรม ไม่เคร่งเครียด มีผู้ร่วมอบรมเป็นครู กศน.จากจังหวัดน่าน ทำให้รู้ว่าอบรมเที่ยวนี้แตกต่างจากหลาย ๆ ครั้งที่เคยไปอบรมมา

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.