คนไทย น้ำใจไม่เคยแห้ง ภาค ๑

เกริ่นขึ้นต้น ถึงแม้จะเป็นคำเก่า ๆ  แต่ก็สามารถใช้ได้กับคนไทยทุกยุคทุกสมัยโดยเฉพาะคนในถิ่นทุรกันดาร ๒ ครั้งใน ๒ สัปดาห์ ที่ผมได้รับความช่วยเหลือจากคนไทย เหตุการณ์ที่ผมได้รับน้ำใจจากคนไทยกำลังจะเล่าต่อไปนี้ เหตุการณ์ที่ ๑ วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๓ หลังจากกิจกรรม “พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเล ครั้งที่ ๒” เสร็จสิ้นผมจะเดินทางกลับไชยปราการปกติรถออกจากอมก๋อย จะเข้าเชียงใหม่จะออก เวลา ๑๔.๓๐ แต่วันนี้ผมเดินออกจากบ้านไป กะว่าเวลาแค่ ๑๐ นาทีน่าจะเพียงพอสำหรับการรอรถเมล์ ปรากฎว่าเวลา ๑๔.๒๐ ผมออกไปจากบ้านประมาณ ๓๐ เมตร มองเห็นรถเมล์ซึ่งเข้าใจว่าออกมาจากคิวรถก่อนเวลามาจอดรออยู่หน้าโรงพยาบาล อมก๋อยเรียบร้อยแล้ว สายตาผมมองเห็น พนักงานขับรถ เก็บไม้หมอนรองล้อรถออก แล้วก้าวขึ้นไปในรถ และขับออกไปผมพยายามวิ่งและตะโกนให้รถรอ แต่พนักงานขับรถ ไม่ได้ยินเสียงผม รถออกไปโดยที่ผมกิ่งวิ่งกึ่งเดินตามไป เนื่องจากมีเด็กไปด้วย ๑ คนคือน้องเบิ้ลที่ร่วมกิจกรรมเที่ยวทะเลกับเด็กดอยในครั้งนี้ ผมหมดความหวังที่จะทันรถ พลันที่รถเมล์พ้นสายตาไปได้ประมาณ ๒ นาที ก็มีรถกระบะของตำรวจออกมาจากสถานีตำรวจภูธรอมก๋อยสมองสั่งให้ผมยกมือขึ้นโบก ในทันที แต่ปฏิกิริยาที่ได้รับจากคนขับรถ คือโบกมือตอบกลับมาเพื่อปฏิเสธ แต่ทันทีที่รถตำรวจเลยไปประมาณ

พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเลครั้งที่ ๒

พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเลครั้งที่ ๒ (๒๐-๒๕ เมษายน ๒๕๕๓) ถ้านับจากเดือนที่จุดประกาย ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ ได้เริ่มเตรียมงานจริงจังก็หลังจากค่ายครูอาสารุ่น ๒ เรียบร้อยแล้ว ในการเตรียมงานครั้งนี้ ก็ได้รับความช่วยเหลือ คำแนะนำหลายอย่าง จากหลาย ๆ ที่หลายคณะ จากผู้ใหญ่ใจดี ที่ระยอง จากคณะครูอาสา ที่อยากให้น้อง ๆ ได้สัมผัสสถานที่ต่าง ๆ จึงเกิดเป็นโปรแกรมทัศนศึกษา “พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเล ครั้งที่ ๒” หลังจากเตรียมแผนงานตลอดเดือนมีนาคม และต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๓ ใกล้ถึงวันเดินทาง ช่วงสงกรานต์เลยขึ้นไปพักผ่อนสมอง สอนหนังสือเด็กอยู่บนดอยบ้านแม่ฮองกลาง ก่อนวันเดินทางต้องกลับมาที่ไชยปราการ เพื่อรับเด็ก ๆ ชนเผ่ามูเซอ (ลาหู่) จากบ้านแม่ฝางหลวง อำเภอไชยปราการ ไปด้วยตัวเองเนื่องจากครูใหญ่ (ธนานัน) ติดภารกิจด่วน ลูกชายบวชภาคฤดูร้อน และจะลาสิขาบท (สึก) ในตอนสายของวันที่ ๒๐ ทำให้ไม่สะดวกพาน้อง ๆไปจากไชยปราการ วันเดินทางหลังจากเบิกเงินค่ารถเรียบร้อยแล้ว ก็พาเด็ก ๆ ออกเดินทางโดยรถเมล์โดยสารจากไชยปราการ

ความเหมือนที่แตกต่าง

ไม่คิดว่าบนดอยเหมือนกัน แต่จะมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ของพื้นที่สูงในเขตโซนเหนือและโซนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่กันขนาดนี้ ในไชยปราการ ป่าไม้ยังพอหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็กำลังถูกรุกคืบ เข้าไปตัดไม้ทำลายป่า ของทั้งคนไทยพื้นเมือง และคนบนดอย หลากหลายชนเผ่า ความเจริญในไชยปราการ ทำให้ผู้คนโดยเฉพาะผู้นำที่พูดได้เสียงดังกว่าคนอื่นในชุมชน จะอาศัยศักยภาพของตนเอง เข้าไปจับจองพื้นที่บนป่า ทำมาหากิน เพื่อให้ได้สิทธิ์ทำกินบนภูเขา ที่อมก๋อย ภูเขาผ่านทางเข้าพื้นที่แต่ละลูก แทบจะไม่เหลือต้นไม้แล้ว เนื่องจากวัฒนธรรมในการทำไร่เวียนทุก ๗ ปี คือไร่หมุนเวียนทำไร่ ๗ แห่ง ๆ ละปี แต่ก็เป็นที่แปลกใจ ขนาดภูเขากลายเป็นเขาหัวโล้น แต่น้ำแม่ฮองยังเป็นลำน้ำขนาดใหญ่ น้ำอุดมสมบูรณ์ ในไชยปราการ จะมีชนเผ่าลาหู่ อาศัยอยู่แถบทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดเชียงราย สภาพชีวิตโดยทั่วไปที่เห็นในไชยปราการ หลังที่ลาออกจากงานที่กรุงเทพฯ เพื่อมาเป็นครูอาสา ก็คิดว่ามาเจอสภาพของคนดอยที่่สภาพชีวิตโหดร้ายแล้ว ที่อมก๋อย ที่นั้นจะเป็นพื้นที่ของเผ่ากะเหรี่ยง ในบริเวณตัวอำเภอ ส่วนใหญ่รอบ ๆ นั้นก็เป็นพื้นที่พออยู่อาศัยได้ของคนไทยพื้นเมือง แต่ถ้าเข้าไปลึกจากตัวอำเภอประมาณ ๔๐ กิโลเมตรเข้าไป ซึ่งทางเข้ายากลำบาก ไม่ค่อยมีหน่วยงานราชการเข้าไปประจำในพื้นที่ มีแค่ครูของ สพท. และ กศน. ยิ่งเข้าไปลึกยิ่งจะเห็นสภาพของความลำบากยากแค้นขนาด

พี่จะอยู่ถึงหน้าฝนนี้หรือเปล่าครับ ?

 พี่จะอยู่ถึงหน้าฝนนี้หรือเปล่าครับ ? ครูเล้ง ครูผู้ช่วย ในโครงการ ครู กพด. ประจำอยู่ ศศช.บ้านแม่เกิบ ยิงคำถามใส่ผม ขณะที่ผมติดรถจักรยานยนต์ น้องเขาลงมาจากดอย บ้านแม่ฮองกลาง ระยะทาง ๗๐ กิโลเมตร ใช้เวลา ๔ ชั่วโมงกว่า ทำให้เราได้แลกเปลี่ยนทัศนกันหลายอย่าง หย่อมบ้านแม่ฮองกลาง ประกอบด้วย บ้านแม่ฮองกลาง บ้านแม่เกิบ บ้านแม่ฮองใต้ และบ้านห้วยหวาย ๔ หมู่บ้านนี้ อยู่สุดท้าย ริมสุดของอำเภออมก๋อย ติดกับอำเภอแม่สะเรียงและอำเภอสบเมย ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ด้วยเหตุผลที่ผมเลือกบ้านแม่ฮองกลาง ด้วยเลขที่ตำแหน่งพนักงานราชการ เป็นเลข ๘๔๘ เลขสวยซะด้วย หารู้ไม่ชะตากรรม ไปไกลสุด ๆ ของอมก๋อย ดินแดน คำสาป ใครที่ถูกส่งมาอยู่ เหมือนโดนทำโทษ กันดารสุด ๆ ห่างไกล ถนนดินผุ ๆ พัง ๆ ไปตลอดระยะทางเกือบ ๗๐

พื้นที่เปลี่ยนไป แต่ความตั้งใจเหมือนเดิม

หลังจากประกาศผลการสอบพนักงานราชการ ทำ ให้ผมคิดหลายตลบ อยู่หลายวัน และแล้วผมก็กลับมาคิดถึง เรื่องที่เคยเขียนใน Facebook ชีวิตคือการวิจัย บางครั้งการทำงาน กับผลลัพธ์ที่ออกมา อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ต้องการ ไม่ใช่สิ่งที่คาดหวัง แต่เราก็ยังต้องลองและค้นหา คำตอบและผลลัพธ์อีกต่อไป ครูอาสาทุกท่าน คงจะได้รับเมล์ ผลของการตัดสินใจในครั้งนี้ไปแล้ว นั้นคือการเลือกที่จะเปลี่ยนพื้นที่ทำงาน จากชนเผ่าลาหู่ไชยปราการ ไปยังชนเผ่ากะเหรี่ยง อำเภออมก๋อย ชีวิตมันก็มีอยู่แค่นี้ ไม่แน่นอน พบเพื่อจาก คนผ่านทาง เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีเริ่มต้น มีจุดสิ้นสุด คงเหลือความทรงจำดี ๆ ไว้ตลอดไป โครงการครูอาสาที่เริ่มไว้ ก็คงจะเปลี่ยนเป้าหมายจากบ้านป่าหนา อำเภอไชยปราการ ย้ายพื้นที่ ไปอำเภออมก๋อย แต่ทราบว่า ทางเข้าหมู่บ้านเดินเท้าเป็นวันในหน้าฝน รถเข้าไม่ถึง ไม่รู้จะมีครูอาสาเข้าไปทำกิจกรรมกับน้อง ๆ อยู่หรือเปล่า ไม่คิดว่าจะย้ายพื้นที่ทำงานเร็วขนาดนี้ อยู่ไชยปราการมา 2 ปีกับอีก 6 เดือน แต่ก็นั่นแหละ ชีวิตคือการเดินทาง อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ขอบคุณกำลังใจ

ทำไมต้อง ลาพักร้อน มาสอนเด็กดอย

อดีต ผมก็เป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง ที่ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ มาสิบกว่าปี โดยชีวิตการทำงาน ก็มีแต่งาน วันหยุด ก็พักผ่อนตามห้าง ดูหนัง ฟังเพลง ท่องอินเตอร์เน็ต และเล่นเกมส์คลายเครียด ตามประสาคนธรรมดาของมนุษย์เงินที่พอจะใช้ชีวิต พอวันหยุดที่มีแต่เดิม ๆ อยากหาอะไรทำใหม่ ๆ บ้าง เพราะรู้สึกว่าชีวิตไม่ค่อยมีชีวิตชีวา จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมอาสากับทีมงานกระจกเงา เป็นส่วนหนึ่งของครูบ้านนอก การร่วมกิจกรรมครั้งนั้น เกิดความประทับใจ ทำให้อยากลาออกจากงานที่กรุงเทพฯ เพื่อทำตามฝัน เมื่อได้มาอยู่บนดอยกับเด็ก ๆ และชุมชนแล้ว ได้มองเห็นว่า เราเคยได้รับโอกาสให้เข้ามาสัมผัสกับวิถีชีวิตชุมชน จึงอยากเปิดโอกาสนั้น ให้กับผู้คนในเมืองใหญ่ ๆ ได้ลองมาสัมผัสดูบ้าง เลยกลายเป็นที่มาของ ครูอาสา “ลาพักร้อน มาสอนเด็กดอย” ด้วยระยะเวลาอันจำกัด ๔ วัน ๓ คืน หรือตามความสะดวก ของอาสาสมัคร เป็นการให้โอกาสกับผู้ใหญ่ใจดี ที่มีอยู่มากมาก เพียงแต่ยังหาสถานที่ หรือเป้าหมายไม่เจอ จึงได้นำกิจกรรมของทีมงานกระจกเงามาประยุกต์ โดยมุ่งหวังที่ความสุขของผู้ให้และผู้รับ โดยมีกิจกรรมครูอาสา เป็นสื่อในการเข้าถึงชุมชน

จุดเริ่มต้นของการเป็นครูดอย

 จุดเริ่มต้นของการเป็นครูดอย “ถ้าไม่ไปตอนนี้ แล้วเมื่อไหร่จะได้ทำตามฝัน” เป็นคำถามที่ถามตัวเองตลอดเวลาก่อนจะออกเดินทางตามหาฝัน เชื่อว่าทุกคนมีฝันเป็นของตัวเอง ฝันของผมอาจจะเหมือนฝันของใครหลาย ๆ คน ผมตามหาฝันของผมพบแล้ว ผมอยากแบ่งปันฝันของผมให้กับคนอื่น ๆ บ้าง ขอแนะนำตัวหน่อยครับ ชื่อต้อม ชื่อจริงนายสุวรรณ พุฒพันธ์ การศึกษา ปริญญาตรี ระบบสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ ดินแดง กรุงเทพฯ การทำงาน 2539 – 2547 บริษัท วีไอวี อินเตอร์เคม จำกัด (เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์) กล้วยน้ำไท 2547 – 2550 บริษัท โรงพยาบาลพญาไท 2 จำกัด (Network & System Engineer) ถนนพหลโยธิน 2550-2551 อาสาสมัครโรงเรียนของหนู ครูช่วยสอน ศศช.บ้านป่าหนา ไชยปราการ เชียงใหม่ 2551-2553 เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล กศน.อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 2553-2558

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.