Volunteer Teachers in Chiangmai – ครูอาสา
httpv://www.youtube.com/watch?v=O_gpeYWblro
httpv://www.youtube.com/watch?v=O_gpeYWblro
หลังจากขึ้นดอยมาได้ ๑ วัน พอถึงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นวันที่นัดกับรถขนอาหารกลางวันที่จะขึ้นมาส่งที่บ้านห้วยบง ห่างจากบ้านแม่ฮองกลางประมาณ ๘ กิโลเมตร ในทุก ๆ ปีที่ผ่านมาทราบว่า รถอาหารกลางวันจะเข้าไม่ได้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน แต่ปีนี้ฝนตกล่าช้า ทำให้เดือนสิงหาคมเป็นเดือนแรกที่ต้องขอให้ชาวบ้านและเด็ก ๆ มาช่วยกันเดินมาขนอาหารกลางวัน ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาจึงถือว่าโชคดี อาหารกลางวันเข้าไปถึงหมู่บ้าน พอตกเดือนสิงหาคมฝนตกติดต่อกันหลายวันถนนเละ จนรถอาหารกลางวันเข้าไปส่งไม่ได้ จึงได้นัดกันไว้ที่บ้านหวยบง ซึ่งแน่นอนภารกิจในการนัดแนะครั้งนี้ก็ไม่พ้นที่จะขอให้ชาวบ้านและเด็ก ๆ นักเรียนไปช่วยแบกอาหารกลางวันจากบ้านห้วยบง มาบ้านแม่ฮองกลาง ระยะทาง ๘ กิโลเมตรขึ้นลงภูเขา ชาวบ้านและเด็ก ๆ เดินประมาณ ๑.๓๐ ชั่วโมงก็ถึงแล้ว ไม่ต้องเดาหรอกครับว่าผมจะเดินไปกับเด็กหรือไม่ เพราะผมก็ไปกับเด็กด้วย ๓ คน และขอให้เด็ก ๆ เดินรอผมด้วย เพราะผมเอารถมอเตอร์ไซด์ไป ที่ให้เด็ก ๆ เดินรอไปเรื่อย ๆ ก็เพื่อให้ไปช่วยดึงรถขึ้นภูเขา เท่านั้นเอง 🙂 เมื่อไปถึงบ้านห้วยบงในบ่ายวันที่ ๑๑ สิงหาคม
หลายคนเป็นบอกว่า ปัญหามีไว้แก้บ้าง มีไว้วิ่งชนบ้าง แต่สำหรับผมปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ แค่เหตุการณ์หนึ่งที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป บางเรื่องก็จดจำได้บางเรื่องก็ไม่อยากจำ ก็เท่านั้นเอง ขึ้นดอยเดือนนี้เป็นอีกเดือนที่ไม่กล้าอาจหาญชาญชัยตะลุยเดี่ยว เพราะประสบการณ์ที่เกิดในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นประสบการณ์สอนเราอย่างดี พร้อมทั้งเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาก่อน จึงได้รอขึ้นดอยพร้อมกันกับครูอีกหลาย ๆ หมู่บ้านรวมทั้งน้อง ๆ ครู กพด. ที่แน่นอนผมหวังลึก ๆ ว่าหากมีอะไรน้อง ๆ เหล่านั้นที่อยู่ในวัยยี่สิบต้น ย่อมสามารถช่วยผู้อาวุโสอย่างผมได้ รวมทั้งความเป็นชนเผ่าของน้อง ๆ ครู กพด. ทำให้เหมือนเป็นใบเบิกทางในการสื่อสารต่าง ๆ ด้วย ในกลุ่มแม่ฮองที่เดินทางครั้งนี้มีครูทั้งหมด ๘ คน ๗ ศูนย์การเรียน รถมอเตอร์ไซด์ ๖ คัน เมื่อถึงสามแยกนาเกียน-ใบหนา เราก็ต้องแยกทางกัน กลุ่มผมแยกเข้าไปบ้านใบหนารถ ๔ คัน ๕ คน อีกกลุ่มแยกไปเส้นทางบ้านนาเกียน รถ ๒ คัน ๓ คน หลังจากเดินทางผ่านไปได้ประมาณ
“ครูครับ ฟ้ามิอาจกั้น แปลว่าอะไรครับ” “ครูค่ะ อย่าปิดฟ้าด้วยฝ่ามือ หมายถึงอะไรค่ะ” “ครูครับ ชั่วฟ้าดินสลาย แปลว่าอะไรครับ” และอีกหลาย ๆ คำถามที่เป็นภาษาวัยรุ่น ที่เด็กเริ่มได้ยินจากเพลง ได้เห็นจากหนังทีวี แม้ว่าทั้งหมู่บ้านจะมีทีวีเพียง ๒ เครื่อง แต่ก็สามารถทำให้เด็กเกิดความสนใจในภาษา และเข้าใจภาษาได้เร็ว โดยเฉพาะภาษาวัยรุ่น ในหมู่เด็กที่อายุก้าวเข้าสู่วัยรุ่น หลายคำถาม ผมต้องตอบซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะเด็กผู้ชายรู้แล้วก็ไปอำเด็กผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงมาถามใหม่ หลายคำถาม ทำเอาผมอึ้งเพราะไม่คิดว่าเด็กบนดอย จะถามซึ่งเป็นคำถามแบบวัยรุ่นในเมือง สื่อทีวี เพลง ค่อนข้างที่จะมีอิทธิพล สำหรับเด็กบนดอยมากพอสมควร เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่เข้ามาในหมู่บ้านได้ไม่กี่ปี และทีวีเครื่องที่ ๒ ในหมู่บ้าน ก็เพิ่งจะมีเดือน พฤษภาคม ๕๓ ที่ผ่านมานี้เอง โบราณกล่าวไว้ว่า “ดูหนังดูละคร ให้ย้อนกลับมาดูตัวเอง” ด้วยความขี้เกียจ ที่จะต้องย้อนมาดูตัวเองนั่นแหละ ทำให้ผมไม่ค่อยดูทีวี เพราะเป็นคนที่ไม่ดูทีวีมาหลายปีแล้ว ทำให้อยู่บนดอยได้โดยไม่เป็นอุปสรรคมากนัก เพราะไม่รู้จะดูไปทำไม ข่าวสารทุกวันนี้ขายข่าวแต่เรื่องร้าย เรื่องดี ๆ ปุถุชน ผู้คนทั่วไปก็ไม่ค่อยนิยมบริโภคกันเท่าไหร่
มาแบ อมก๋อย เพลงสั้น ๆ แต่ความหมายกินใจ “มาแบ มาแบ อมก๋อย ลงจากดอย มาแบ นักแก ชูเดชะ อามู อาแพ ชูเดชะ อามู อาแพ คิดถึงพ่อแม่ คิดถึง บนดอย” แปลความได้ว่า ไม่สนุก ไม่สนุก อมก๋อย ลงจากดอย ไม่สนุก มากเลย (คำว่า นักแก เป็นภาษาเหนือ) คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่ คิดถึงพ่อแม่ คิดถึง บนดอย เมื่อได้ยินเพลงนี้ครั้งแรก มันสนุกในทำนองและสำเนียง แต่เมื่อได้ถามคำแปลแล้วทำให้ได้ทราบว่า วิถีชีวิตของเด็กบนดอย ที่เป็นอิสระ และความสุข แบบดอย ๆ เด็กเขาคงจะปรับตัวยากเมื่อลงดอย การได้ใช้ชีวิตในตัวอำเภออมก๋อย ถึงแม้จะมีความพร้อมกว่าในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม การศึกษา การสื่อสาร และอาหารการกิน หากแต่เด็กก็คือเด็ก ยังคิดถึงพ่อแม่ คิดถึงบ้านบนดอย
โรงเรียนบ้าน…. สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งของโรงเรียน การเดินทางค่อนข้างสะดวกกว่า ในหมู่บ้านนั้นมีเด็กมากกว่า 150 คนที่อยู่ในเกณฑ์ วัยเรียน มีครูที่เป็นข้าราชการ ครูสามารถทำผลงานเพื่อเลื่อน ระดับเงินเดือนได้ มีงบประมาณบริหารของแต่ละโรงเรียนเอง ตามที่ได้รับจัดสรร มีครูหลายคน ช่วยกันสอนและรับผิดชอบแต่ละระดับชั้น สวัสดิการของครู เป็นสวัสดิการของข้าราชการ ศศช.บ้าน…… สังกัด สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งของศูนย์การเรียน การเดินทางเข้าพื้นที่ส่วนใหญ่จะลำบาก ในหมู่บ้าน มีเด็กในเกณฑ์วัยเรียนตั้งแต่ 3 ขวบ ถึง 14 ปี อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ ครูที่สอนเป็นพนักงานราชการ ประเมินการทำงานเพื่อต่อสัญญาทุก 4 ปี ไม่สามารถทำขั้นทำซีได้ ไม่มีงบประมาณของแต่ละ ศศช. งบประมาณส่วนใหญ่จะอยู่ที่ กศน.อำเภอ แต่ละแห่งมีครู 1-2 คน, ครู 1 คนดูแลหลายระดับชั้น รวมทั้งผู้ใหญ่ และผู้ไม่รู้หนังสือ สวัสดิการของครู ตามระเบียบพนักงานราชการ (ใช้ระบบประกันสังคม) นั่นเป็นเหตุผลที่ ครูดอยบางส่วนมาอยู่เพื่อรอสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู สังกัด สพท. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่ผ่านมาเป็นแค่ บททดสอบ ตลอดระยะเวลา ๔ เดือนคือตั้งแต่ มีนาคม-มิถุนายน เป็นบททดสอบทั้งกายและใจ พอย่างเข้าเดือนกรกฎาคม หนทางอันหฤโหด ที่เป็นเรื่องเล่าขาน ต่อกันมานานหลายปีได้เริ่มขึ้นในการเดินทางของผมแล้ว เดือนนี้จำเป็นต้องลงมาจากดอยก่อนกำหนดเดิม ๒ วัน เพราะต้องมาร่วมงานเปิด กศน.ตำบลนาเกียน การเดินทางครั้งนี้เริ่มจากครูกำจัด ที่เป็นครูนิเทศก์กลุ่มแม่ฮองได้ มานิเทศก์ บ้านมะหินหลวง ทีเนอะ ทีลอง ศาลาเท แม่ละเอ๊าะ ต่อมายังบ้านแม่เกิบ แม่ฮองกลาง แม่ฮองใต้ และบ้านห้วยหวาย เป็นบ้านสุดท้าย คณะครูตามรายทางจึงได้เดินทางพร้อมกับครูใหญ่ คำเรียกครูใหญ่ เป็นการให้เกียรติครูนิเทศก์ เนื่องจากเป็นผู้มีประสบการณ์มายาวนานในการทำงานบนพื้นที่สูง ที่พร้อมจะให้คำแนะนำน้อง ๆ ครูรุ่นใหม่ที่เข้าไปแทนที่คนเก่า ครูใหญ่และพวกเรา ได้ประชุมหารือการเดินทางออกจากพื้นที่ได้ข้อสรุปว่า จะพาคณะครูจาก ศาลาเท แม่ละเอ๊าะ ไปสำรวจเส้นทางกลุ่มผีปาน โดนเส้นทางกลุ่มผีปานนี้ผมใช้เป็นเส้นทางเข้า-ออกประจำ แต่ครูจากศาลาเท และแม่ละเอ๊าะจะใช้เส้นทางบ้านนาเกียนแทน ครูทั้งหมด ๗ คนจาก ๕ ศูนย์การเรียน ของการเดินทางครั้งนี้ เป็นการเดินทางท่ามกลางฤดูมรสุม ตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา ความลำบาก และการช่วยเหลือ
ได้รับภารกิจให้ไปจัดสานเสวนา ๓ ทศวรรษ กพด. โดยให้จัดเสวนาชุมชน๓ ด้าน คือความเสมอภาคทางการศึกษา คุณภาพชีวิต และการบริหารจัดการ ศศช. ประเด็นของความเสมอภาคเป็นประเด็นหลักใน ที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดในหมู่ครู กศน. ปัญหาคือ เราให้สิทธิกับทุกคนในชุมชน ให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม แล้วอะไรคือความไม่เสมอภาคทางการศึกษา ในมุมมองของชุมชน อะไรคือปัญหาของความไม่เสมอภาคทางการศึกษา เพราะในเมื่อทุกคนในชุมชนได้รับโอกาสทั้งนั้น เด็กตั้งแต่ ๓-๑๕ ปี จะบรรจุรายชื่อเพื่อรับงบสนับสนุนอาหารกลางวัน จากรัฐ คนไหนไม่มาเรียน ก็แน่นอนไม่ได้รับสิทธิ์นั้น ขนาดบางคนไม่มีชื่อ ยังมารับอาหารตั้งแต่ ๒ ขวบกว่า ๆ ในฐานะที่เป็นครู ก็ต้องจัดสรรอาหารให้ไปตามส่วนของเด็ก คงไม่มีครูคนไหนใจดำขนาดเห็นเด็กตัวเล็ก ๆ มารับอาหารแล้วไม่ให้อาหารเด็ก เพียงเพราะว่าไม่มีชื่อในบัญชีรายชื่อ แม้แต่ผู้ใหญ่เราก็ให้สิทธิเรียนกันทุกคน หากแต่ผู้ใหญ่เหล่านั้นจะมีข้ออ้างที่ไม่มาเรียนเนื่องจากต้องทำมาหากิน หรืออาจจะอายเด็ก ๆ ที่ต้องมาเขียนหนังสือเหมือนเด็ก ๆ การเรียนจึงประยุกต์ไปตามสภาพของชุมชน เช่นเรียนที่บ้าน ฝีกเขียนที่บ้าน เรียนโดยการสนทนาแสดงความคิดเห็น ตั้งประเด็นให้คิดและแสดงความคิดเห็น ความไม่เสมอภาคในมุมมองของผม คือความไม่เสมอภาคของของงบประมาณที่ลงให้แต่ละพื้นที่มากกว่า ๓ จังหวัดภาคใต้ทุ่มงบประมาณลงไปสร้างความเจริญให้เท่าไหร่ ๆ ได้ข่าวว่าหลายพันล้านบาท
ก่อนลงดอย ๑ คืน ฝนตกตั้งแต่ช่วงหัวค่ำของคืนวันที่ ๒๒ มิถุนายน ทำให้คืนนี้ที่ศูนย์การเรียนค่อนข้างจะเงียบเหงาเร็วกว่าปกติ ซึ่งปกติ จะมีเด็ก ๆ มีอยู่มาคุย เพื่อรอเวลาไปดูทีวี บรรยากาศดีเหลือเกิน เมื่อเสียงเม็ดฝนตกกระทบหลังคาสังกะสีศูนย์การเรียน ผมเอา Notebook ที่ติดขึ้นไปบนดอย ตัดสินใจนำ “ชีวิตร่ำไห้ ที่ไม่มีใครได้ยิน” มาเปิดให้เด็กที่อยู่เป็นเพื่อน ๓ คน ได้แก่ อาทิตย์ บือพะ และยงยุทธ ได้ดูในคืนนั้น วีดีทัศน์ชุดนั้น ลุงยุทธ นักพัฒนาสังคม ผู้ที่พยายามชักชวนผมให้เว้นการบริโภคเนื้อสัตว์ ได้มอบให้ไว้นานแล้ว เพิ่งจะได้มีโอกาสดูจนจบเรื่อง ก็วันนี้เอง “ตนเป็นที่รักแห่งตน เรารักตัวเองฉันใด สัตว์อื่นก็รักตัวเองฉันนั้น” เป็นคำบรรยายแรก ในวีดีทัศน์ชุดนั้น พร้อมกับภาพของสัตว์ต่าง ๆ ที่ถูกฆ่าเพื่อมาเป็นอาหารมนุษย์ ในฉากถัดมา วีดีทัศน์ชุดนั้นใช้ มีภาพค่อนข้างที่จะโหดร้ายสะเทือนใจ เช่นภาพปลาโดนสับหัวเป็น ๆ ภาพกบถูกลอกหนังแล้วยังดิ้นรนต่อ ภาพปาดคอเปิดเพื่อเอาเลือด แล้วยังดิ้นไปอีกสักพักกว่าจะตาย “พวกเรายังไม่อยากตาย พวกเราไม่ใช่อาหารของท่าน ใครคงหลอกท่านไว้แน่เลย ว่าพวกเราเป็นอาหารของท่าน”
ตลอดการเดินทางจากอำเภอฮอดเข้า ไปอำเภออมก๋อย จะเห็นข้างถนนหลวงจะมีเพิงเล็ก ๆ ตั้งขายของป่าเรียงรายอยู่ เกือบตลอดเส้นทาง เจ้าเห็ดก้อนกลม ๆ ที่เกิดในดิน หากินได้เฉพาะทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น และก็มีขายกันเฉพาะช่วงต้นฤดู ฝน ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมเท่านั้น เห็ดที่ว่านี้มี ชื่อว่า “เห็ดเผาะ” หรือเห็ดเหียงหรือเห็ดหนัง บางคนก็เรียกว่า เห็ดดอกดิน แต่ชื่อที่เรียกกันติดปากมาที่สุดคือ “เห็ดถอบ” เป็นหนึ่งในของป่าที่สร้างรายได้ ให้กับชาวบ้านริมถนนเหล่า นั้นคือเห็ดเผาะ ภาษาถิ่นทางเหนือเรียกเห็ดถอป และของป่าอื่น ๆ ตามฤดูกาล ภาคอิสานเรียกเห็ดเผาะ สีขาวขุ่นน่ากินยังกับลูกชิ้น เกิดในท้องนาดินปนทราย เห็ดถอบของทางเหนือ จะเกิดบริเวณที่ไฟไหม้ป่า เท่านั้น ลูกดำ ๆ ล้างเท่าไหร่ก็ไม่ขาว ที่อำเภอไชยปราการ ขายกันลิตรละ ๑๐๐-๑๒๐ บาท ในต้นฤดูกาล ที่อำเภอฮอดและอมก๋อย ริมทางหลวงก็ขายกันได้ลิตรละ ๘๐-๑๒๐ ตามความต้องการของตลาด แต่อนิจจา ที่บ้านแม่ฮองกลาง ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อยและหมู่บ้านใกล้เคียงชาวบ้านไม่สามารถเอาออกมาขายได้ เพราะไม่รู้ราคาตลาด และการเดินทางลำบาก เด็ก ๆ เอามาฝากให้ครูประมาณ