ครูอาสาฯ 3-6 ธันวาคม 2554
ส่วนหนึ่งของกิจกรรม ครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย 3 – 6 ธันวาคม 2554 httpv://www.youtube.com/watch?v=l3mgLAV4gAo
ลาพักร้อน มาสร้างโรงเรียนดิน
ปกติกิจกรรมครูอาสาจะเป็นรูปแบบ “ลาพักร้อน มาสอนเด็กดอย” จะให้อาสาสมัคร หรือที่เรียกว่า “ครูอาสา” จัดกิจกรรมกับเด็กเป็นส่วนใหญ่ แต่ด้วยสภาพอาคารของ ศศช.บ้านแม่ฮองกลาง ที่สร้างมาหลายปี เริ่มผุพังตามกาลเวลา ปลวกกินไม้ “ลาพักร้อน มาสร้างบ้านโรงเรียนดิน” จึงเกิดขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้อาสาสมัคร ได้ร่วมกิจกรรมที่สร้างสรรสิ่งดี ๆ ไว้ให้กับศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่ฮองกลาง จึงเป็นที่มาของการปรับปรุงเป็นโรงเรียนดินในครั้งนี้ ถึงจะเป็นครั้งที่ ๒ ในกิจกรรมที่อมก๋อย แต่ก็สร้างความประทับใจให้กับคณะอาสาได้ไม่น้อย หลาย ๆ ท่านได้กลับมาอีกครั้งจากที่เคยมาแล้วในรุ่นบุกเบิก เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ ซึ่งการกลับมาครั้งนี้ ไม่ได้มาตัวคนเดียว ก็ไปชักชวนกลุ่มเพื่อน ๆ ที่ชอบงานอาสาเพื่อสังคมคล้าย ๆ กัน ชอบความลำบาก ชอบลุย ๆ เหมือน ๆ กันมา รุ่นบุกเบิก ก็ต้องแปลกใจ ที่มีอาสาที่เป็นถึง ผอ.โรงเรียน แห่งหนึ่งในเขตบางซื้อ กรุงเทพฯ มีข้าราชการครู มีข้าราชการทหาร และเภสัชกร เข้าร่วมกิจกรรม ต้องแปลกใจอีกครั้ง
ธรรมะสัญจร เดลิเวอร์รี่จากกรุงเทพฯ สู่อมก๋อย
เมื่อเดือน เมษายน ๒๕๕๓ ที่ได้มีโอกาสพาน้อง ๆ ชนเผ่ากะเหรี่ยงและมูเซอ ไปทัศนศึกษาที่กรุงเทพฯ และไปทะเลที่จังหวัดระยอง โดยมีผู้ใหญ่ใจดีหลาย ๆ ท่านให้การสนับสนุนงบประมาณ การไปในครั้งนั้น ได้มีโอกาสเข้าไปปฏิบัติธรรม ฝึกสติ เจริญปัญญา ที่ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เพชรเกษม ๕๔ ระหว่างร่วมปฏิบัติธรรมตัวผมเองมีความรู้สึกสงบมาก ซึ่งปกติการจัดกิจกรรมแบบนี้จะมีเรื่องให้กังวล และต้องแก้ปัญหาต่าง ๆ มากมาย แต่เข้าไปปฏิบัติที่ยุวพุทธฯในครั้งนี้กลับรู้สึกสงบ จนแปลกใจ พอถึงกิจกรรมช่วงท้ายที่จะได้ ออกจากยุวพุทธฯได้สนทนากับพระมหาสมใจ สุรจิตฺโต (พระอาจารย์แตงโม) ที่เป็นพระอาจารย์วิทยากรในครั้งนั้น พระอาจารย์ก็ได้ปรารภว่าอยากมาช่วยจัดกิจกรรมให้ถึงอมก๋อย อันเป็นสถานที่ของเด็ก ๆ เพื่อจะได้ไม่ต้องเดินทางไกล จึงได้ประสานงานกราบนมัสการ ขอคำปรึกษาจากพระอาจารย์เรื่อยมา จึงเป็นที่มาของกิจกรรม “อบรมปฏิบัติธรรมสัญจร เด็กชาวไทยภูเขา” ระหว่าง ๔ – ๗ มกราคม ๒๕๕๔ ในครั้งนี้ การจัดกิจกรรมที่เป็นลักษณะอบรมธรรมะในครั้งนี้ เป็นครั้งแรก แต่ก็ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดี หลาย ๆ ท่านที่ทั้งบริจาคช่วย และระดมทุนมาช่วยจัดกิจกรรมซึ่งเป็นจำนวนเงินมากพอสมควร โดยไม่ได้งบประมาณของทางราชการแม้แต่บาทเดียว โดยมีพระมหาสมใจ
บุกเบิกอมก๋อย…เป็นครั้งแรก
นับตั้งแต่กิจกรรม “ครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย” เกิดขึ้น ครั้งนี้มีหลาย ๆ อย่างเกิดขึ้นที่นี่…เป็นครั้งแรก จัดกิจกรรมครูอาสา ที่อมก๋อย เป็นครั้งแรกครูอาสาหลาย ๆ ท่านมาอมก๋อย เป็นครั้งแรกครูอาสาบางท่าน มาภาคเหนือ เป็นครั้งแรกมีครูอาสา เป็นข้าราชการครู เข้าร่วมกิจกรรม เป็นครั้งแรกมีครูอาสา ที่เป็น ผอ.โรงเรียน เข้าร่วมกิจกรรม เป็นครั้งแรกมีครูอาสาหลาย ๆ ท่านเห็นความลำบากสุด ๆ ในชีวิต เป็นครั้งแรกมีครูอาสา ที่เป็นนายจ้าง และลูกจ้าง มาร่วมกิจกรรมด้วยกัน เป็นครั้งแรกมีครูอาสา ร่วมเป่าเทียนวันเกิด ในกิจกรรม และเป็นครั้งแรกที่ ครูศักดิ์ จาก ศศช. บ้านห้วยบง ที่ขับรถยนต์พาครูอาสาขึ้นไปบ้านแม่ฮองกลาง 😛 (ปกติไปถึงแค่น้ำห้วย) เมื่อเป็นครั้งแรก มันจึงเกิดความผิดพลาด เล็ก ๆ น้อย ๆ เกิดขึ้นรถเมล์จากเชียงใหม่ที่คาดว่าจะมาส่งครูอาสาในเวลาไม่เกิน ๑๒.๓๐ – ๑๒.๕๐ กว่าจะมาถึงอมก๋อย ก็ปาเข้าไป ๑๓.๑๕ ช้าไป ครึ่งชั่วโมงรถรับส่งครูอาสาที่เตรียมไว้
Volunteer Teachers in Chiangmai – ครูอาสา
httpv://www.youtube.com/watch?v=O_gpeYWblro
เด็กดอยคอยครู
ออกอากาศทางทีวีไทย เมื่อ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ [zdvideo]http://61.90.231.3/ThaiPBS_Clip/20091116/605118.flv[/zdvideo]
บังเอิญ ที่ได้อ่าน “ดูรู้ ๑ พรรษา”
บังเอิญที่ เป็นหนังสือ ที่พระศุภกิจบันทึกเมื่อจำพรรษา อยู่ ยุวพุทธิกสมาคมศูนย์สอง บัญเอิญที่ พระท่านมีพระอาจาย์ ที่เคยรับนิมนต์ ไปทำบุญ ที่ทำงานเก่าผม บัญเอิญที่ ช่วงนั้นผม อยากเข้าไปร่วมกิจกรรมทำบุญแต่ไม่ได้ไป คงบุญไม่มีที่จะได้กราบพระดี ๆ บังเอิญที่ การพาน้องไปทะเลครั้งที่ ๒ นี้ผมระบุลงไปที่ ยุวพุทธกสมาคมฯ ประทุมธานี ไม่ทราบว่าเป็น ศูนย์สอง บังเอิญที่ ความตั้งใจของครูก้อย ผู้ประสานงานได้ประสานไว้ที่ ศูนย์หนึ่งบางแค ทำให้ไม่ได้ไป ศูนย์สอง บังเอิญที่ เหตุการณ์ต่าง ๆ ในหนังสือเล่มนั้นเกิดมาเมื่อปี ๒๕๔๙ มันเฉียดไปเฉียดมากับชีวิตผมตลอดเวลา บัญเอิญที่ หนังสือเล่มนั้นเล่าว่า เรื่องบัญเอิญไม่มี มันมีเหตุ มันมีที่มาที่ไปทุกอย่าง จึงได้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ขึ้น ไม่บัญเอิญที่ผมตั้งใจจะเอาไว้ บนดอย แล้วเกิดอยากเอาหยิบติดมือลงด อยมาด้วย มาคิดได้อีกครั้งควรจะแบ่งคนอื่น ได้อ่านบ้าง จึงเอาไปบริจาคให้ห้องสมุดประชาชนอำเภออมก๋อย ไม่บังเอิญที่จะขอขอบคุณคุณสว่าง จิตร์ น้ำทิพย์ อีกครั้งที่ส่งหนังสือดี ๆ
พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเลครั้งที่ ๒
พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเลครั้งที่ ๒ (๒๐-๒๕ เมษายน ๒๕๕๓) ถ้านับจากเดือนที่จุดประกาย ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ ได้เริ่มเตรียมงานจริงจังก็หลังจากค่ายครูอาสารุ่น ๒ เรียบร้อยแล้ว ในการเตรียมงานครั้งนี้ ก็ได้รับความช่วยเหลือ คำแนะนำหลายอย่าง จากหลาย ๆ ที่หลายคณะ จากผู้ใหญ่ใจดี ที่ระยอง จากคณะครูอาสา ที่อยากให้น้อง ๆ ได้สัมผัสสถานที่ต่าง ๆ จึงเกิดเป็นโปรแกรมทัศนศึกษา “พาน้องเด็กดอยเที่ยวทะเล ครั้งที่ ๒” หลังจากเตรียมแผนงานตลอดเดือนมีนาคม และต้นเดือนเมษายน ๒๕๕๓ ใกล้ถึงวันเดินทาง ช่วงสงกรานต์เลยขึ้นไปพักผ่อนสมอง สอนหนังสือเด็กอยู่บนดอยบ้านแม่ฮองกลาง ก่อนวันเดินทางต้องกลับมาที่ไชยปราการ เพื่อรับเด็ก ๆ ชนเผ่ามูเซอ (ลาหู่) จากบ้านแม่ฝางหลวง อำเภอไชยปราการ ไปด้วยตัวเองเนื่องจากครูใหญ่ (ธนานัน) ติดภารกิจด่วน ลูกชายบวชภาคฤดูร้อน และจะลาสิขาบท (สึก) ในตอนสายของวันที่ ๒๐ ทำให้ไม่สะดวกพาน้อง ๆไปจากไชยปราการ วันเดินทางหลังจากเบิกเงินค่ารถเรียบร้อยแล้ว ก็พาเด็ก ๆ ออกเดินทางโดยรถเมล์โดยสารจากไชยปราการ
ทำไมต้อง ลาพักร้อน มาสอนเด็กดอย
อดีต ผมก็เป็นมนุษย์เงินเดือนคนหนึ่ง ที่ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ มาสิบกว่าปี โดยชีวิตการทำงาน ก็มีแต่งาน วันหยุด ก็พักผ่อนตามห้าง ดูหนัง ฟังเพลง ท่องอินเตอร์เน็ต และเล่นเกมส์คลายเครียด ตามประสาคนธรรมดาของมนุษย์เงินที่พอจะใช้ชีวิต พอวันหยุดที่มีแต่เดิม ๆ อยากหาอะไรทำใหม่ ๆ บ้าง เพราะรู้สึกว่าชีวิตไม่ค่อยมีชีวิตชีวา จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมอาสากับทีมงานกระจกเงา เป็นส่วนหนึ่งของครูบ้านนอก การร่วมกิจกรรมครั้งนั้น เกิดความประทับใจ ทำให้อยากลาออกจากงานที่กรุงเทพฯ เพื่อทำตามฝัน เมื่อได้มาอยู่บนดอยกับเด็ก ๆ และชุมชนแล้ว ได้มองเห็นว่า เราเคยได้รับโอกาสให้เข้ามาสัมผัสกับวิถีชีวิตชุมชน จึงอยากเปิดโอกาสนั้น ให้กับผู้คนในเมืองใหญ่ ๆ ได้ลองมาสัมผัสดูบ้าง เลยกลายเป็นที่มาของ ครูอาสา “ลาพักร้อน มาสอนเด็กดอย” ด้วยระยะเวลาอันจำกัด ๔ วัน ๓ คืน หรือตามความสะดวก ของอาสาสมัคร เป็นการให้โอกาสกับผู้ใหญ่ใจดี ที่มีอยู่มากมาก เพียงแต่ยังหาสถานที่ หรือเป้าหมายไม่เจอ จึงได้นำกิจกรรมของทีมงานกระจกเงามาประยุกต์ โดยมุ่งหวังที่ความสุขของผู้ให้และผู้รับ โดยมีกิจกรรมครูอาสา เป็นสื่อในการเข้าถึงชุมชน