ครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย เพื่อส่งเสริมการศึกษาและคุณภาพชีวิตเด็กดอย

วันหยุดของคุณในหนึ่งปีมีกี่วัน วันหยุดแต่ละวันคุณใช้ไปกับการทำอะไร ลองใหม่ดูไหม กิจกรรม "ครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย"

แม่ฮองกลาง

แม่ฮองกลาง

ภาพเก่าในอดีต 2553 แม่ฮองกลาง

Read More

ครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย

ครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย

ในแต่ละปีวันหยุดของคุณมีกี่วัน ลองใหม่ดูใหม่ ใช้วันหยุดลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย

Read More

ลงทะเบียน

ลงทะเบียน

ลงทะเบียนร่วมกิจกรรม ลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย

Read More

การบวชคือการเตรียมตัวเข้าสู่สังคม

การบวชภาคฤดูร้อน ของน้อง ๆ บ้านแม่ฮองกลาง ระหว่างวันที่ ๓๐ มีนาคม – ๑๓ เมษายน เป็นการเตรียมพร้อม เตรียมตัว เพื่อเข้าสู่สังคม อีกแนวทางในการเตรียมคน แต่น้อง ๆ บางคนก็ไม่ได้บวชจนครบกิจกรรม เนื่องจากยังยึดติดประเพณีการเลี้ยงผี (บรรพบุรุษ) ที่ต้องไปทำตามประเพณี เมื่อคนในครอบครัวมีการเจ็บป่วย การบวชภาคฤดูร้อน ณ วัดบ้านหลวง เป็นการบวชก่อนเปิดเทอมของนักเรียนที่จะเรียนต่อโรงเรียนบ้านหลวง

ไร่หมุนเวียน ความภูมิใจในภูมิปัญญา

ไร่หมุนเวียน ความภูมิใจในภูมิปัญญา กับปัญหาปากท้องของคนบนพื้นที่สูง ที่ต้องต่อสูักันต่อไป

วิถีชีวิต วิถีชุมชน วิถีคน วิถีป่า

ใกล้เข้าสู่ปีการศึกษาใหม่ ๒๕๕๕ ซึ่งจะเปิดเทอม ในไม่กี่เดือนข้างหน้า ขณะนี้จึงเป็นช่วงเวลาของเด็กเรียนในระบบกำลังเรียนกันอย่างเคร่งเครียด เพื่อจะให้ได้คะแนนดี จะได้เข้าโรงเรียนหรือเรียนต่อในโรงเรียนตามที่คิดที่หวังไว้ สำหรับเด็กดอยที่มีความพร้อม แม้จะมีทั้งพรแสวงและพรสวรรค์ ในสายตาของครูในหมู่บ้านและแขกที่มาเยี่ยม และได้เห็นภาพ เห็นพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็ก หากได้รับโอกาสที่ดี ที่ผู้ใหญ่ใจดีพร้อมหยิบยื่นให้ แต่หากครอบครัวไม่พร้อมสนับสนุน ก็กลับกลายเป็นอุปสรรคได้ เด็กหญิงวิภา นางสาวโซเซา เด็กหญิงหม่าพะ และเด็กชายยงยุทธ ๔ คน ในหลาย ๆ ชีวิตที่ย่างก้าวเข้าสู่วัยรุ่น ที่พร้อมจะเป็นแรงงาน ให้กับครอบครัว ด้วยวิถีชีวิตชุมชน ความห่างไกล ที่อาศัยอยู่ในป่า กับธรรมชาติ อยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกล โดยทั้ง ๔ คนกลับกลายเจอปัญหาอุปสรรค ที่คล้าย ๆ กัน ด้วยเพราะน้อง ๆ กำลังโต จะเป็นแรงงานช่วยทางบ้านได้ เด็กหญิงวิภาอายุ ๑๔ ปี อาศัยอยู่กับพ่อแม่ และมีน้องอีก ๓ คน จึงเป็นพี่สาวคนโตที่ต้องออกไปสู่แรงงานในไร่ปีนี้เป็นปีแรก เด็กหญิงหม่าพะอายุ ๑๔ ปี

การต่อสู้ทางความคิด เพื่อแย่งศิษย์-หลาน

 ครูก้อยหนึ่งในอาสาสมัครที่เคยร่วมกิจกรรม เป็นผู้ที่คอยสนับสนุนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่หลายกิจกรรม หลังจากที่ได้ร่วมกิจกรรมเมื่อปี 2552 ปัจจุบันได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม 4Dekdoi และได้ร่วมกิจกรรม Visit Dekdoi 2012 เมื่อวันที่ 25 – 28 มกราคม 55 ที่ผ่านมา และคงได้เห็นสภาพบนดอยที่เปลี่ยนไป จึงได้ถามผมว่า “เป้าหมายคืออะไร” เป็นคำถามที่ผมต้องคิดย้อนกลับไปเมื่อมาเป็นครูอาสาในกลางเดือนมีนาคม 2553 สภาพที่เห็นในตอนนั้น มันไม่มีอะไรเลย มีแต่อาคารเรียนที่ใช้ในการเรียนการสอนอย่างเดียวเท่านั้น สวนกล้วยที่มีรอบบริเวณถามไปถามมา ก็ไม่ใช่ของศูนย์การเรียน แล้วอะไรที่ควรทำตามเป้าหมายที่ได้รับมอบมา หลาย ๆ กิจกรรมจึงเป็นการทำแบบผสมผสานดังนี้ – กลุ่มเป้าหมายนักเรียนด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดาร 3 – 15 ปี – ส่งเสริมการรู้หนังสือในกลุ่มผู้ใหญ่-ผู้ใช้แรงงาน – การส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก – การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม – การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น – การส่งเสริมภาวโภชนาการในเด็กวัยเรียน – โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน – การลดภาวะการขาดสารไอโอดีนในเด็กพื้นที่สูง – กิจกรรมด้านอนามัยเด็กวัยเรียน การที่เด็กในชุมชนเติบโตขึ้นมาเมื่ออายุได้ 14

[มะหมูพาเที่ยว] … ค่ายครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย ตอนที่ 3 (จบ)

ภาพและเนื้อหาฉบับเต็ม ๆ อยู่ที่ http://in-my-mind.diaryis.com/2011/12/24  โดย คุณหมอนาน่า     ตอนที่ ๑        ตอนที่ ๒ เช้าวันที่ 5 ตื่นเร็วกว่าเมื่อวาน ยังมืด ๆ อยู่เลยออกมานั่งรอดูพระอาทิตย์ขึ้น ^^ นั่งเล่นเงียบๆซักพัก แม่ก็เดินออกมานั่งใกล้ๆ พร้อมถือหม้อออกมาใบนึง แม่เปิดออกมา ก็เห็นว่าเป็นอะไรซักอย่าง ที่เหมือนรากไม้ต้ม อารมณ์ประมาณโสมทำนองนั้น ไอ้เราก็คิดว่ามันเป็นยา มันต้องขมแน่ๆเลย แม่ก็ชวนกิน หมูก็ทำหน้าปุเลี่ยน ๆ ถามแม่ว่าอร่อยมั๊ย ขมรึเปล่า กินยังไง แม่ก็ลอกเปลือกให้ดู อ๋อออ….. หน้าตามันเหมือนมันฝรั่งจิ๋ว ๆ รสชาติก็คล้ายๆกันค่ะ มันๆ กินเพลินๆ กินไปซักพัก แม่บอกว่าลองกินแบบไม่ลอกเปลือกดูสิ อ่ะ … จัดไปตามใจแม่ 1 อัน แต่ปรากฏว่า มันไม่อร่อยง่ะเปลือกมันเคี้ยวไม่ออก เลยบอกแม่ว่าขอลอกเปลือกเหมือนเดิมละกัน 555++ นั่งแทะกันอย่างเมามัน คุณพ่อคนนี้ก็อุ้มเด็กน้อยมาบนบ้าน ต้องบอกนิดนึงว่า

[ มะหมูพาเที่ยว ] … ค่ายครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย ตอนที่ 2

ภาพและเนื้อหาฉบับเต็ม ๆ อยู่ที่ http://in-my-mind.diaryis.com/2011/12/17  โดย คุณหมอนาน่า จากที่ทิ้งท้ายไว้หน้าที่แล้วตรงมื้อเที่ยงของวันแรก ที่หมูกลับไปซ่อมประตูห้องน้ำ 55++ ไดนี้ก็จะต่อกันที่กิจกรรมช่วงบ่ายค่ะ หลังจากแยกย้ายกันไปทำมื้อกลางวันเสร็จ ก็กลับมารวมตัวกันที่ รร. อีกครั้งจัดการให้เด็กๆเข้าแถว แล้วทำการแบ่งเป็นสามกลุ่ม กิจกรรมของช่วงบ่ายนี้ คือ “แข่งกีฬาเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างครูอาสากับเด็ก” ตัวหมูเองไม่ได้เข้าแข่งด้วย เพราะมีภารกิจต้องทำขนมหวานเลี้ยงเด็ก ๆ ต่อ แต่ก็แอบแว๊บ ๆ ออกมาดูบรรยากาศอยู่เป็นระยะ ๆ เกมแรกเริ่มแล้ว …. ผู้เข้าแข่งขันล้อมวงกัน ปรี้ดดดด …สิ้นเสียงนกหวีดเริ่มการแข่งขันเท่านั้นแหละ ฝุ่นตลบ!! ทั้งครูทั้งเด็กมุ่งมั่นกันมาก ๆ ตัวเล็กคนนี้ … ไปรอบก่อนยังเป็นเด็กยิ้มอยู่เลย มารอบนี้พูดเก่ง และแสบมาก พอเริ่มแข่งปุ๊บ โดนพี่โตๆไล่เหยียบลูกโป่งก็ตกใจ ทำท่าจะร้องไห้ ครูๆก็เลยแอบกระซิบว่า เดี๋ยวหนีอย่างเดียวเลยนะลูก พอเป่าเริ่มครึ่งหลังปุ๊บ ..หนูก็วิ่งตื๊ออ ออกมานอกวงไกลมาก แล้วก็ยืนรออยู่จนจบการแข่งขัน 555++ เกมต่อไป … เตรียมพร้อม นักกีฬาคนสุดท้ายนี่ สงสัยจะเป็นเด็กโข่ง 5555++ ซักพักเปลี่ยนเอาเด็กโข่งมายืนข้างหน้า เล่นก่อน

[มะหมูพาเที่ยว] …ค่ายครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย ตอนที่ 1

ภาพและเนื้อหาฉบับเต็ม ๆ อยู่ที่ http://in-my-mind.diaryis.com/2011/12/13  โดย คุณหมอนาน่า ถึงหมูบ้านก็ประมาณทุ่มกว่า ๆ ก็แยกย้ายกันไปนอนตามบ้านของชาวบ้าน หมูได้นอนบ้านหลังเดิมกับคราวที่แล้วค่ะ เช้าวันที่ 4 ตื่นมาทำกับข้าว แล้วก็กินข้าวพร้อมๆกันกับเด็ก ๆ มัวแต่กินข้าวแล้วก็โอ้เอ้ …มาเลยเวลานัดรวมพล เลยโดนทำโทษ ให้เต้นเพลง “นกกระยาง” “นกกระยาง นกกระยางอยู่กลางทุ่งนา มองดูกุ้งหอยปูปลา มองดูกุ้งหอยปูปลา แล้วก็ป้าบ ป้าบ ป้าบ แล้วก็ป้าบ ป้าบ ป้าบ กุ๊กๆกิ๊กๆกั๊กๆ กุ๊กๆกิ๊กๆกั๊กๆ แล้วก็ป้าบ ป้าบ ป้าบ” ส่วนครูที่ไม่มีป้ายชื่อก็โดนทำโทษอีกกระทงนึง ให้เต้นเพลง “ไก่ย่างพิการ” “ไก่ย่างพิการ ไก่ย่างพิการ ปีกซ้ายมันก็หัก ปีกขวามันก็หัก ขาซ้ายมันก็หัก ขาขวามันก็หัก ตูดมันก็หัก คอมันก็หัก ร่อแร่ ร่อแร่ ร่อแร่ ร่อแร่” เด็กๆ จัดแถว!! เคารพธงชาติ สวดมนต์ แผ่เมตตา แล้วก็ร้องเพลงสดุดีมหาราชา

ความฝันที่ฝันไว้มา 10 กว่าปีเป็นจริง

การได้เป็นครูอาสาครั้งนี้ ทำให้ความฝันที่ฝันไว้มา 10 กว่าปีเป็นจริง ต้องขอขอบคุณครูพี่ตุ๋ม ที่กล้าชวน ซึ่งน้องก็กล้าไป และยังให้คำแนะนำมากมาย ขอบคุณเพื่อนขวัญที่คอยดูแลอยู่ไม่ห่าง ขอบคุณพี่โต้งที่คอยให้คำแนะนำกับครูอาสามือใหม่คนนี้ และขอบคุณครูอาสาเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนที่ทำให้ประสบการณ์ของแอนในครั้งนี้มีคุณค่าที่สุดประสบการณ์หนึ่งในชีวิต และที่ขาดไม่ได้ ขอบคุณครูต้อม สุดยอดครูดอย ที่ทำให้รู้ว่าอุดมการณ์มีค่ากว่าแก้วแหวนเงินทอง…นอกจากนี้ ต้องขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับชาวบ้านและเด็กๆ หมู่บ้านแม่ฮองกลาง ที่ได้สอนและทำให้แอนได้เรียนรู้กับคำว่า “พอเพียง” ที่แท้จริง การมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ได้อย่างลงตัว โดยไม่ทำร้ายกัน ถ้ามีโอกาสเราคงได้พบกันอีกนะคะ By Anchalee Ekpakdeewattanakul (Albums) Updated on Friday, December 16, 2011 at 11:29am  Taken at บ้านแม่ฮองกลาง อ.อมก๋อย

รอยยิ้ม มิตรภาพ และหัวใจที่เบิกบาน

กุ๊งกิ๊งกุ๊งกิ๊ง เสียงกระดิ่งจากคอวัว ปลุกพวกเราให้ลุกขึ้นมาแต่เช้าตรู่ แม้ ว่าสภาพอากาศข้างนอกจะเย็นแค่ไหน แต่ก็ไม่ทำให้หัวใจเราย่อท้อ ครูหลายๆคนตื่นขึ้นมาตอนเช้า บ้างถือกล้องเดินสำรวจหมู่บ้าน บ้างช่วยพ่อกับแม่ทำกับข้าว บ้างคุยทักทายกันตามอัธยาศัย แสงหมอกเริ่มจางตัวลงตามแสงแรกของวันที่กำลังส่องแสงเข้ามาเยือนหมู่บ้านแม่ ฮองกลางแห่งนี้ พร้อมกับสายลมเย็นที่พัดมาชะโลมผิวจนขนลุก หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ซึ่งมีชาวบ้านชนเผ่ากะเหรี่ยงอาศัยอยู่จำนวนไม่น้อย หมู่บ้านแห่งนี้มีไม่มีไฟฟ้าใช้บางบ้านดีหน่อยมีโซล่าเซลล์ แล้วตามแต่สถานภาพของแต่ละครอบครัว แต่ทุกๆ บ้านก็ทำให้เราได้เห็นว่าพวกเขาใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้อย่างพอเพียง หลอดไฟฟ้าในแต่ละบ้านนั้นก็ใช้กันเพียงแค่หลอดเดียว ซึ่งเอาไว้ทำหน้าที่เพื่อส่องแสงสว่างในยามราตรีเท่านั้น การดำรงชีวิตยังเป็นแบบดั้งเดิมตามวิถีชีวิตของชาวบ้านทั่วๆ ไป ของชนเผ่า ซึ่งทุกชิวิตของที่นี่ก็สามารถดำรงชีวิตกันอยู่ได้ด้วยความสุข ถึงแม้ในแต่ละวันชาวบ้านแห่งนี้จะต้องออกไปทำไร่ทำนา ซึ่งส่วนมากก็ทำเพื่อเก็บเอาไว้กินเองตามฤดูกาล ยามใดที่แสงสีทองของตะวันส่องแสงรำไรๆ นั่นคือสัญญานที่บ่งบอกว่าทุกคนในครอบครัวจะต้องออกไปทำนากันแล้ว เหลือไว้ก็แต่เด็กที่ต้องไปโรงเรียน เด็กๆ ทุกคนที่นี่เติบโตกันมาได้ตามวิถีชีวิตที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน และต้องรับผิดชอบต่อตัวเองเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่เด็กทุกคนที่นี่ได้รับคือความแข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ เขียนเองก็เคยเป็นหนึ่งของผู้คนที่เคยไปพบและประสบและได้สัมผัสชีวิตตามวิถี ชาวบ้านของหมู่บ้านแห่งนี้ ซึ่งเริ่มแรกก็มีความคิดที่ไม่ต่างไปจากคนอื่นๆ เลย นั่นก็คือพวกเขาอยู่กันได้อย่างไรในพื้นที่เช่นนี้แต่เมื่อเราได้เข้าไปอยู่ ท่ามกลางชาวบ้านทุกครัวเรือน เมื่อเวลาได้หมุนเวียนผ่านไป เมื่อได้หันมองไปรอบๆ ตัว สิ่งที่ได้เห็นก็คือ รอยยิ้มของทุกๆ คน ในหมู่บ้านแห่งนี้นั้นทำให้เราประจักษ์ได้ว่า ณ ที่แห่งนี้นั่นแองที่คือความสุขของพวกเขา แต่ความทุกข์ คือสิ่งที่เราทุกคนต่างเป็นผู้ยัดเยียดความรู้สึกแบบนี้ให้กับพวกเขาเอง เพราะเราทุกคนต่างคิดกันเอาเองว่า ถ้าเขาได้รับความสะดวกสบายเหมือนที่เราเป็นอยู่ และเขาคงมีความทุกข์มากที่ในแต่ละวันไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.