ทุนการศึกษาเด็กดอยปี 9 (ปีการศึกษา 2566)

  • การดำเนินงานปีการศึกษา 2567
  • การดำเนินงานปีการศึกษา 2566
    • นักเรียนทั้งหมด 27 คน รายชื่อนักเรียน
      • จบ ม.6 จำนวน 1 คน (นายสรศักดิ์ เคียงอมร เรียนต่อระดับปริญญาตรี/ทำงานไปด้วย)
      • จบ ม.3 จำนวน 5 คน (เรียนต่อ 1 คน พิมพ์ชนก-ไม่เรียนต่อ 3 คน)
  • การดำเนินงานปีการศึกษา 2565
    • นักเรียนทั้งหมด 26 คน รายชื่อนักเรียน
      • จบ ม.6 จำนวน 2 คน (เรียนช่างตัดผม 1 คน, เรียนช่างไฟฟ้า 1 คน)
      • จบ ปวช.3 จำนวน 1 คน
      • จบ ม.3 จำนวน 3 คน
      • จบ ป.6 จำนวน 1 คน
      • ออกกลางคัน 1 คน (เด็กชายไกรวิชญ์-ออก ม.1 เทอม 2)
  • การดำเนินงานปีการศึกษา 2564
    • นักเรียนทั้งหมด 26 คน รายชื่อนักเรียน
      • จบ ม.6 จำนวน 1 คน
      • จบ ม.3 จำนวน 2 คน (นายสุทธินันท์-เรียน ต่อ ปวช., นายกำธร-ไม่เรียนต่อ)
      • ออกกลางคัน 1 คน (เด็กชายทศพล-ป.3 รร.บ้านหลวง)
  • ผลการดำเนินงานปีการศึกษา 2563 (เมษายน-63-เมษายน64)
    • จบ ม.3 จำนวน 1 คน
    • จบ ป.6 จำนวน 2 คน
    • นักเรียนทั้งหมด 25 คน ไม่เรียนต่อ 3 คน
  • ผลการดำเนินงานปีการศึกษา 2562 (พฤษภาคม 62-มีนาคม 63)
    • จบ ป.6 จำนวน 1 คน
    • จบ ม.3 จำนวน 5 คน
  • ผลการดำเนินงานปี 2561
    • จบ ป.6 โรงเรียนบ้านหลวง จำนวน 6 คน
  • ผลการดำเนินงานปี 2560
    • จบ ป.6 โรงเรียนบ้านหลวง จำนวน 3 คน
  • ผลการดำเนินงานปี 2559
    • จบ ป.6 จำนวน 6 คน (เรียนต่อ ม.ต้น 5 คน, บวชเรียนในเชียงใหม่ 1 คน)
  • ผลการดำเนินงานปี 2558
    • จบการศึกษาระดับ ม.6 โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม 1 คน (เรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย)
    • จบการศึกษาระดับ ม.3 จำนวน 2 คน (เรียนต่อ ม.ปลาย 1 คน ไม่เรียน 1 คน)

ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่าน ทุกองค์กร ที่มีส่วนหยิบยื่นโอกาสทางการศึกษา และอนาคตที่ดี ให้น้อง ๆ ชนเผ่าเหล่านี้ได้รับโอกาสในชีวิต เพื่อที่จะพัฒนาตนเอง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าน้อง ๆ เหล่านี้ จะกลับมาพัฒนาชุมชน พัฒนาท้องถิ่น และพัฒนาประเทศในอนาคต

Scholarship_Studentความเป็นมา เดือนมีนาคม 2553 แอดมินครูต้อม เริ่มไปปฏิบัติหน้าที่สอน ณ ศศช.บ้านแม่ฮองกลาง ตำบลนาเกียน สิ่งแรกที่ไปเห็นคือ เด็กฟังและพูดภาษาไทยไม่ได้ เด็กโตที่พอฟังได้ แต่เวลาพูดเด็ก ๆ จะใช้เวลาคิดสักพักว่าจะตอบเป็นภาษาไทยอย่างไร จึงเกิดความคิดที่จะหาสื่อการเรียนการสอนที่สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ภาษาไทย หลังจากนั้นได้เสียสละแรงกายและเงินทุนส่วนตัว เพื่อเสาะแสวงหาสื่อภาษาไทย รวมทั้งขอความอนุเคราะห์จากผู้ใหญ่ใจดี จัดหาหนังสือเรียนภาษาไทยหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544 เพื่อนำมาเป็นแบบเรียนให้กับนักเรียนบ้านแม่ฮองกลาง เมื่อสอนจนครบหมด 2 เล่มในปลายปี 2554 เด็กนักเรียนมีพัฒนาด้านภาษาไทยอย่างชัดเจน เด็กกล้าอ่าน กล้าพูดภาษาไทยมากขึ้น และมีบางส่วนขอหนังสือไปฝึกอ่านเองที่บ้าน นำหนังสือมาอ่านให้ฟังบ้าง

ตลอดเวลาเกือบ 2 ปีที่อยู่บนดอยบ้านแม่ฮองกลาง ของอำเภออมก๋อย ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 – กันยายน 2554 ได้เห็นพัฒนาการจากสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะกับเด็กดอย และสามารถนำมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน จนเด็กสามารถอ่านออกเขียนได้

Thai_Textbooksเมื่อไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนในปี 2555 จึงไม่อยากให้สิ่งที่ลงทุนลงแรงไปทั้งหมดเกิดสูญเปล่า จึงเป็นที่มาที่ไปของโครงการต่อยอดทางการศึกษา เป็นโครงการนำน้อง ๆ จากหมู่บ้านบนดอยระยะทางกว่า 80 กิโลเมตร จากอำเภออมก๋อย มาเรียนต่อในระดับประถมศึกษาในระบบโรงเรียนประถมศึกษา (สพท, สพฐ) เพื่อให้น้อง ๆ จากบนดอยห่างไกลได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการเรียนต่อระดับสูงขึ้นได้

ความเป็นมาของโครงการจากชีวิตเด็กดอยบ้านแม่ฮองกลาง วิถีชีวิตชุมชนที่ต้องให้ความสำคัญกับปากท้องก่อนการศึกษา จัดการศึกษาโดยศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เมื่อเด็กวัย 10-13 ปี พอจะเป็นแรงงานให้ครอบครัวได้ ต้องใช้เวลาในการไปช่วยงานในไร่ข้าวของพ่อแม่ ทำให้ไม่มีเวลามาเรียน เรียนไม่ทันเพื่อน ชีวิตของเด็ก ๆ หลายคนต้องออกจากการเรียนกลางคัน และเมื่อถึงฤดูมะม่วง ลำไย ให้ผลผลิต เด็กที่โตเป็นวัยรุ่นพอช่วยเหลือครอบครัวได้ ก็ต้องออกจากหมู่บ้านไปรับจ้าง เก็บมะม่วง เก็บลำไย ต่างอำเภอ บางคนก็ไปรับจ้างในเมืองเชียงใหม่ ถึงแม้กลุ่มวัยรุ่นในหมู่บ้าน จะพออ่านออกเขียนได้ แต่ในหมู่บ้านแม่ฮองกลางไม่มีคนจบการศึกษาระดับประถมศึกษาแม้แต่คนเดียว

จากปัญหาการขาดโอกาสทางการศึกษา เป็นจุดเริ่มโครงการทุนการศึกษาเด็กดอย โดยเริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2555 มีนักเรียนอายุ 8-10 ปี จำนวน 8 คน การเดินทางกว่า 80 กิโลเมตร จากหมู่บ้านแม่ฮองกลาง หมู่ 1 ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย ลงดอยมาเรียนในระบบโรงเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านหลวง ตำบลยางเปียง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 5 เป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษา สร้างอนาคตให้กับเด็กจำนวน 8 คน

ปีการศึกษา 2556 เมื่อผู้ปกครองได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของบุตรหลานในทางที่ดีขึ้น และความสำคัญของโอกาสทางการศึกษา จึงได้ส่งบุตรหลานเข้าร่วมโครงการเพิ่มจำนวน 5 คน โดยเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาจากบ้านแม่ฮองกลาง 4 คน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4) จากบ้านนาเกียน จำนวน 1 คน รวมทั้งหมดเป็นนักเรียนที่รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจำนวน 13 คน โดยปี 2556 นี้นอกจากกลุ่มเพื่อน และคนรู้จักร่วมสนับสนุนแล้ว ยังได้รับการสนับสนุนระดมทุนจาก Social Giver โครงการเพื่อสังคมจาก Social Motion ได้ร่วมระดมทุนสนับสนุนการศึกษา

การศึกษาคือรากฐานของชีวิต ปีการศึกษา 2557 มีผู้ปกครองได้ประสานนำนักเรียนมาฝากเรียนเพิ่มเติม จึงรับนักเรียนเข้าร่วมโครงการอีกจำนวน 5 คน โดยเป็นนักเรียนจากหมู่บ้านผาผึ้ง 3 คน จากหมู่บ้านอูแจะ 1 คน และหมู่บ้านแม่ฮองกลาง 1 คน จากเดิม 18 คน เพิ่มใหม่ 5 คน รวมนักเรียนทั้งหมดจำนวน 23 คน

เนื่องจากโรงเรียนในสังกัด สพฐ. จะได้รับอุดหนุนรายหัวจากรัฐเป็นค่าวัสดุและแบบเรียน และเสื้อผ้าคนละ 360 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งสามารถซื้อได้เพียงเสื้อ 2 ตัวและกางเกง 1 ตัวไม่เพียงพอ ทุนการศึกษาซึ่งส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายด้านจัดซื้อข้าวสาร และอาหารการกินให้กับน้อง ๆ ในระหว่างการเดินทางลงดอยมาเรียนแล้ว โครงการทุนการศึกษาต้องสนับสนุนเพิ่มเติม เป็นชุดนักเรียน รองเท้า ถุงเท้า ชุดลูกเสือเป็นต้น

นักเรียนระดับประถมศึกษาได้รับอาหารกลางวันฟรี จากโรงเรียน ค่าใช้จ่ายของโครงการทุนการศึกษาเด็กดอย สำหรับเช้า-เย็น และวันหยุดราชการอื่น ๆ คำนวณจากนักเรียน 23 คน วันละ 10 บาท 30 วัน เป็นเงินประมาณ 6,900 บาท ต่อเดือน ทั้งนี้โครงการ 4DekDoi ได้พยายามประหยัดค่าใช้จ่าย โดยให้เด็กนักเรียนช่วยกันปลูกผักสวนครัว เพื่อบริโภคเอง

วัตถุประสงค์
– เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนที่เรียนดี ขยันและตั้งใจจากชุมชนชาวเขาที่ห่างไกลทุรกันดารได้รับโอกาสทางการศึกษาในระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ  สามารถนำความรู้ไปเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นได้

เป้าหมาย นักเรียนจากพื้นที่สูงในอำเภออมก๋อย (รายชื่อนักเรียนดูที่นี่)

งบประมาณและการใช้จ่ายในโครงการส่วนใหญ่ จึงเป็นค่าอาหารของเด็ก ๆ เนื่องจากเด็กออกจากหมู่บ้านมา ต้องมาหอพักนอนของโรงเรียนในวันจันทร์-วันพฤหัสบดี และในวันหยุด ไม่มีครูดูแล เดินเท้ามาบ้านพักที่หอพัก 4DekDoi ที่สร้างไว้รองรับ โดยให้ช่วยเหลือตัวเอง และระบบพี่ดูแลน้อง รุ่นพี่ช่วยทำอาหารให้และช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน โดยงบประมาณจากการบริจาคของผู้ใหญ่ใจดี และผู้สนับสนุนอื่น ๆ

ทำไมไม่นำเด็กที่เรียนจบประถมมาเรียนต่อในระดับมัธยม ?
Secondary_Student– เด็กที่จะเรียนจบในระดับประถมศึกษาของบนดอย เรียนในหลักสูตรของ กศน. เด็กที่เรียนจบบางส่วนอายุ 12-15 ปี ซึ่งกำลังก้าวเข้าสู่วัยแรงงานของครอบครัว ครอบครัวพ่อแม่ไม่อนุญาต เพราะต้องการให้เป็นแรงงานทำงานในไร่

ทำไมมีแต่เด็กผู้ชายมาเรียน ไม่มีเด็กผู้หญิง ?
– การดูแลเด็กผู้ชาย ง่ายกว่าดูแลเด็กผู้หญิง เด็กผู้ชายส่วนใหญ่จะมีทักษะในการเอาตัวรอด การช่วยเหลือตัวเองได้ดีกว่าเด็กผู้หญิง School_Uniformและเด็กผู้หญิงผู้ปกครองไม่อนุญาตให้ลงมาเรียน

จะรับนักเรียนจากหมู่บ้านอื่นเข้าร่วมโครงการ หรือไม่ ?
– หากเป็นความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และมีทุนการศึกษาเพียงพอ ก็พร้อมจะให้โอกาสสำหรับเด็กจากหมู่บ้านอื่น

ผู้ปกครองนักเรียน เห็นด้วยหรือสนับสนุนโครงการหรือไม่ ?
– ผู้ปกครองที่ได้พูดคุย สนับสนุนให้ลูกมาเรียน แต่ไม่สามารถช่วยเหลือหรือสนับสนุนเป็นเงินได้เนื่องจากครอบครัวยากจน แต่ยินดีให้ลูกมาเรียน

คำถามจากผู้ใหญ่ใจดี
Parentถามที่-1หากชาวบ้านยังมีทัศนคติต้องการแรงงานจากกลุ่มเด็กโตแบบนี้ เมื่อถึงเวลาเด็กกลุ่มนี้ก็คงต้องกลับไปทำไร่ทำนา ซึ่งอาจไม่ได้ใช้ประโยชน์จากศึกษารึเปล่า และหากเด็กเล็กเกินไป จะเห็นคุณค่าของสิ่งที่คุณครูและพวกเรามอบให้รึเปล่า

คำตอบ-1- เรื่องอนาคตเด็ก ถ้า….
– เด็กเรียนแค่ประถมศึกษา ต้องกลับไปเป็นแรงงานในไร่ในสวน
– มัธยมต้น-ปลาย อย่างดีก็ได้เป็นลูกจ้าง สถานีอนามัย
– อนุปริญญา ถึง ปริญญาตรี อนาคต กลับมาเป็นครู ทำงานอนามัย ลูกจ้างโครงการหลวง ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาท้องถิ่น ถึงแม่จะไม่ได้อยู่ในหมู่บ้านตัวเองก็ตาม

ระยะต่อไป สำหรับเด็กเมื่อเรียนจบประถม แล้วส่งไปเรียนต่อระดับมัธยม ที่วัดในตัวเมืองเชียงใหม่ (บวชเรียน) ตามวัดต่าง ๆ ที่เปิดสอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา การบวชเรียนเป็นวิธีที่ดีที่สุด เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายน้อย

ที่พักของนักเรียน
– วันจันทร์-พฤหัสบดี อยู่ที่หอพักนอนโรงเรียนบ้านหลวง (มีเด็กจากหลายหมู่บ้านพักร่วมกัน)
– วันศุกร์-วันอาทิตย์ เดินเท้ากลับมาพักหอพัก 4DekDoi

IMG_8137ผู้ใหญ่ใจดี

  • ระดมทุนผ่าน Social Giver
  • คุณสุรัตน์ รุจิรศักดิ์ (ระยอง)
  • คุณจีรวัสส์ พินทุพันธุ์ (จี) (www.mod-ed-3d.com)
  • คุณสุพัตรา หวู่ (จากประเทศใต้หวัน)
  • คุณอังคณา (ผู้ใหญ่ใจดีไม่ประสงค์จะแสดงตัว)
  • คณะทำงานโครงการเตรียมความพร้อมผู้นำสู่ประชาคมอาเซียน 2015 (รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี, ผศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล, น.ส.อัญชลี เอกภักดีวัฒนกุล และน.ส.พัชราพร ทิมกุล)
  • ร้านบ้านนาโซลาร์แพค www.bannasolar.com, www.prigpiroot.com

ปฏิทินการศึกษา

  • มีนาคม (ของทุกปี) รับสมัครนักเรียนใหม่ในแต่ละปี
  • พฤษภาคม (ของทุกปี) เปิดเทอมภาคเรียน 1
  • กันยายน (ของทุกปี) สอบปลายภาคเรียนที่ 1
  • ตุลาคม (ของทุกปี) ปิดเทอม
  • พฤศจิกายน (ของทุกปี) เปิดเทอมภาคเรียนที่ 2
  • กุมภาพันธ์-มีนาคม (ของทุกปี) สอบเก็บคะแนน-สอบปลายภาค-รับสมัครนักเรียนใหม่
Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.