ทากกัดที่อมก๋อย .. แบบไม่รู้ตัว

ประสบการณ์สมัยเป็นเด็ก ของเด็กบ้านนอกเคยโดนปลิงกัด ปลิงเป็นสัตว์น้ำ ไร้กระดูกสันหลัง ที่คอยดูดเลือกจากวัวควาย ที่ลงไปกินน้ำ เล่นน้ำ ซึ่งสมัยเป็นเด็ก อยู่บ้านนอกเห็นเป็นประจำ ทำให้ผมไม่ค่อยกลัวเท่าไหร่ กับการถูกปลิงกัด เพราะกัดไม่เจ็บ พอเอาตัวปลิงออกจากขา ๕-๑๐ นาทีเลือดก็หยุดไหล ทาก เป็นสัตว์คล้ายปลิง ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่มันอาศัยอยู่บนบก ที่ชุ่มชื่น แฉะ ทากเป็นสัตว์ที่ร้ายกาจ เข้ามากัดโดยไม่รู้ตัว และไม่เจ็บ เมื่อทากกัดทากจะปล่อยสารเคมีในตัวชนิดหนึ่ง ออกมาใส่บาดแผลที่มันกัด ทำให้เลือดไหลไม่หยุด กว่าเลือกจะหยุดไหลอาจจะต้องใช้เวลา ๔ – ๘ ชั่วโมง ผม ถูกทากกัดเมื่อหลายปีก่อนโน้น สมัยยังเป็นวัยรุ่น ไปเที่ยวภูกระดึง นั่นทำให้ผมได้รู้จักกับเจ้าสัตว์ไร้กระดูกสันหลัง หรือที่ผมจะเรียกมันว่า “ปลิงบก” เป็นครั้งแรก เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ผมได้เดินเท้าไปบ้านห้วยหวายเป็นระยะทางประมาณ ๑๐ กิโลเมตร ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นทาก ที่อำเภออมก๋อย ไปอยู่ไชยปราการ ๒ ปีกว่า ไมเคยเห็นทากสักตัว การเดินทางไปครั้งนี้จึงเป็นการไปอย่างระมัดระวัง “ทาก” อย่างเป็นที่สุด ครู ๒

เจ็บมะละกอ….เสื้อมือยาว

เย็นวันหนึ่ง นักสู้ทั้งหลาย ต่างเตะต่อยกัน เหมือนหนังเรื่องนักสู้พันธุ์ข้าวเหนียว ผมได้นั่งอยู่หน้า ศศช.ตามประสาครูดอย ดูเด็ก ๆ เล่นกัน ปรากฎว่าเล่นกันไปเล่นกันมา เกิดพลาดขึ้นมามีคนหนึ่งเจ็บ จากการเล่นขึ้นมา ผมก็พรวดเข้าไปถามว่าเจ็บอะไรที่ไหนบ้าง หลาย ๆ คนที่เล่นก็ยังตัวเล็ก แต่ก็เล่นกันตามประสาเด็กถามใครต่อใครก็ไม่ได้คำตอบ แล้วน้องชิจัง ก็ให้คำตอบกับผมว่า “เจ็บมะละกอ” เด็กที่โตกว่าก็พากันหัวเราะ เนื่องจากเข้าใจภาษาไทยกว่า แล้วผมก็ยังงง ๆ อะไรคือเจ็บมะละกอ คำเฉลยที่ได้คือมีเด็กอีกคนเอามือจับที่เอว แล้วร้องเพลงแอปเปิ้ล มะละกอ กล้วย ส้ม เป็นเพลงที่สอนให้เด็ก ๆ เต้นบ่อย ๆ นั้นเอง ที่บอกว่าเจ็บมะละกอ ก็คือเจ็บเอวนั้นเองผมต้องคอยปลอบใจ ไม่ให้ชิจังอาย เพราะถูกล้อเลียนว่าเจ็บมะละกอ และบอกเด็ก ๆ ที่โตกว่าว่าชิจังเขายังเรียกคำว่า “เอว” ไม่ได้ อย่าเอาไปล้อเลียนเขา ตั้งแต่วันนั้นมาก็หวังว่าน้องชิจังจะรู้จักคำว่าเอว ๔ พฤศจิกายน ๕๓ ผมโทรขึ้นไปบนดอย เพื่อสอบถามว่าเด็ก ๆ ไปรดน้ำสวนผักให้หรือเปล่า ผู้ที่มารับคือน้องโซ่ถัง ได้รายงานให้ผมทราบว่า

บ่อปลาเก่า…สปาหมู…บ่อดินสร้างโรงเรียน

การเลี้ยงหมูแบบปล่อย เป็นวิถีชีวิต และวัฒนธรรมอีกอย่างของคนดอยชนเผ่าต่าง ๆ ด้วยเหตุผลใดไม่อาจจะเดาได้ แต่ที่ทราบจากชนเผ่าลาหู่ (มูเซอ ไชยปราการ) ว่าการเลี้ยงหมูแบบขังคอก ทำให้หมูเครียด หรืออาจจะเป็นเพราะการเลี้ยงแบบปล่อย ให้หมูได้เดินออกกำลังกาย จะได้มีมันน้อย ๆ เนื้อเยอะ ๆ หรือให้หมูหากินเอง จะได้ไม่เปลืองอาหารหมูมาก หมูของชาวบ้านที่นี่ มีแหล่งพักผ่อนหย่อนใจคือ หลังศูนย์การเรียนนั่นเอง ที่นั่นเป็นบ่อปลา่เก่า ทิ้งร้างไว้ เมื่อฝนตกทำให้น้ำขัง แล้วก็กลายเป็นบ่อหมักโคลนของหมูไปในปัจจุบัน นอกจากมีบ่อแล้ว ใกล้ ๆ บ่อยังมีต้นไม้ขนาดใหญ่ เอาไว้ให้หมู ขัดตัว ขัดผิวหนัง เมื่อขึ้นจากบ่อ คิดไปคิดมาเหมือน สปาของคนเลย พอออกจากสปาเสร็จ ก็หากินต่อรอบ ๆ ศูนย์การเรียนนั่นเอง บ่อปล่าเก่าแห่งนี้ ปัจจุบันคือบ่อโคลน หรือบ่อสปาหมู อนาคต กะว่าจทำบ่อที่นี่ เป็นบ่อเพื่อการเรียนรู้เรื่องบ้านดิน การสร้างบ้านด้วยดิน อิฐดิน ในอนาคต ใกล้ ๆ นี้ ไม่น่าเชื่อว่า แค่บ่อปล่าเก่าทิ้งร้าง ยังมีประโยชน์ตลอดเวลา กับวิถีชีวิตบนดอย

คนชายขอบ ใกล้ชายแดน พม่าขายหม้อ

โลกทั้งผอง  พี่น้องกัน อมตวลีของ มหาตมา คานที ที่ผมเคยอ่านและจำมาตั้งแต่สมัยเด็ก หรือวัยรุ่นไม่แน่ใจ ที่มันฝังหัวว่า ไม่ว่ามนุษย์ชนเผ่าไหน เชื้อชาติใด ก็คือมนุษย์ คนหนึ่ง คือเพื่อน คือพี่น้องร่วมโลกของเรา การที่เรามาขีดเส้นกั้นในความคิดของคนทั่วไปว่า รั้วนี้บ้านเรา เขตนั้น จังหวัดนั้น ภาคนี้ หรือแม้แต่ประเทศนั้น ๆ ก็เป็นการสมมติ โดยการเอาภาษาและวัฒนธรรมมาเป็นตัวกั้นระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ระหว่างสอนเด็กในสาย ๆ วันหนึ่ง ได้รับเชิญไปกินข้าวบ้านชาวบ้าน เดินผ่านไปหน้าศูนย์การเรียนฯ เหมือนจะมีคนคุยกันว่าผมเป็นทหารหรือเปล่า ชาวบ้านบอกว่าผมเป็นครู (สนทนากันด้วยภาษาไทย) แต่ผมก็ไม่ได้สนใจอะไรมาก เดินไปยังบ้านเป้าหมาย และมาทราบภายหลังว่าคนนั้นเป็นชาวพม่า เข้ามาขายหม้อ โดยเดินเท้าเข้ามาตามตะเข็บชายแดน เมื่อผมเดินกลับจากบ้านที่เชิญไปกินข้าวในอีก ๑๕ นาทีต่อมา เขามั่นใจแล้วว่าผมไม่ใช่ทหาร ก็เข้ามาคุยกับผมโดยเชื้อเชิญให้ผมซื้อบุหรี่พม่า ผมแจ้งไปว่าไม่สูบบุหรี่ เลยถ่ายรูปสินค้าที่เขานำเข้ามาขาย ครั้งแรกเห็นชาวพม่า ๔-๕ คน เดินลัดหมู่บ้านกลับออกไปทางอำเภอสบเมย เด็ก ๆ บอกว่าเป็นพม่ามารับจ้างตัดไม้ ครั้งที่สอง ขณะลงจากดอยในบ่ายของวันหนึ่งระหว่างผ่านบ้านผาปูน มีกลุ่มชายนุ่งโสร่ง ๗-๑๐ คนเดินผ่านหน้าไป

จากหมูไล่คน…มาเป็นคนหลอกหมู

จากเรื่องไม้สั้นไม้ยาว และหมูไล่คน ทำให้ผมทราบว่า ณ ชุมชนบ้านแม่ฮองกลางแห่งนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีห้องน้ำใช้ แต่ระบบการกำจัดขยะ สิ่งปฏิกูล ในหมู่บ้านก็มีการทำงานเป็นธรรมชาติในตัวมันเอง การไม่มี หรือไม่ใช้ห้องน้ำในชุมชน คนภายนอกมองเป็นเรื่องใหญ่ แต่ในชุมชนเขาว่าไม่ใช่ปัญหาในการใช้ชีวิต หากแต่เสี่ยงกับโรคพยาธิ ที่อาจจะติดมากับดิน กับน้ำ เย็นวันหนึ่งผมได้นั่งเล่นหน้า ศูนย์การเรียน พอใกล้มืดเด็ก ๆ แยกย้ายกลับบ้านไปบางส่วน เหลือเด็กอยู่ไม่กี่คน หนึ่งในนั้นคือน้องศราวุธ ตาแก้ว ชื่อเล่น ชิจัง พ่อเป็นคนเมือง (คนไทย) แม่เป็นคนชนเผ่า แม่ได้เสียชีวิตไปแล้วตั้งแต่ยังเล็ก ผมสังเกตุเห็นว่า ตอนเย็น ๆ รอบ ๆ หมู่บ้านหมูจะกลับจากหากินตามป่า เพื่อมากินอาหารที่เจ้าของทำให้ตอนเย็นทุกวัน เดินเพ่นพ่านหน้าศูนย์การเรียนจึงได้บอกน้องชิจังว่า หลอกหมู ให้ครูหน่อย โดยการเดินไปป่าเหมือนจะไปอุจจาระ ปรากฎว่าได้ผลครับ มีหมูหนึ่งเดินตามไป เพื่อหวังอาหารอันโอชะในมื้อเย็น แต่เจ้าหมูตัวนั้นคงจะผิดหวังอย่างแรง เพราะผมแค่ให้น้องเขาแสดงละครหลอกหมู เฉย ๆ ถ้าหมูตัวนั้นคิดได้มันคงจะเคืองผมแน่ ๆ เลยที่วางแผนกับเด็กนักเรียนหลอกมันไปเดือนเหนื่อยโดยไม่ได้กินอาหาร

มีหมอ….หมอไม่มี

ช่วงเวลา ๒ เดือนที่ผ่านมาได้ยินแต่ข่าว พรบ.คุ้มครองคนไข้เป็นข่าวตลอด คาราคาซังไม่มีข้อยุติซักที และเมื่อลงดอยมาไปนั่งกินข้าวร้านตามสั่งที่ถูกปาก….ที่สุดในอมก๋อย ก็ได้เห็นข่าวทางทีวีมีคนตาย จากเหตุการณ์ที่ไปพึ่งบริการทางการพยาบาลของโรงพยาบาล แล้ว เกิดอุบัติเหตุหรืออะไรก็สุดจะแล้วแต่ ทำให้ต้องมีการสูญเสียเกิดขึ้น ฝ่ายผู้สูญเสียก็ไม่พอใจบุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล ที่ไม่เอาใจใส่ดูแลอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดการสูญเสียเกิดขึ้น ฝ่ายแพทย์ก็ต้องเห็นใจโดยเฉพาะแพทย์ในโรงพยาบาลเล็ก ๆ ตามต่างจังหวัดต้องแบกรับภาระต่อจำนวนคนไข้ในอัตราที่สูงมาก ทั้งยังมีระบบต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตาม ทำให้เกิดความเครียดในการปฏิบัติหน้าที่เกิดขึ้น ความผิดพลาดมันเกิดขึ้นได้ไม่ว่ากับใคร คนที่ไม่เคยผิดพลาดคือคนที่ไม่เคยทำอะไร…(โหยคำคมเลยนะเนี่ย) เป็นความโชคดีแล้วครับที่มีหมอ ยิ่งปัจจุบันสถานีอนามัยหลาย ๆ แห่งได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ มีเจ้าหน้าที่ ๒๔ ชั่วโมง ถึงแม้จะไม่มีแพทย์มาประจำ แต่อย่างน้อยก็มีพยาบาลมาประจำ พอให้อุ่นใจขึ้นมาได้บ้าง ถ้าย้อนเวลากลับไป…สมัยผมเป็นเด็กบ้านนอกผมเคยเห็นการทำคลอด สมัยนั้นไม่มีการฝากครรภ์ จะมาโรงพยาบาลทั้งทีก็เป็นเรื่องใหญ่สำหรับชุมชนต่างจังหวัด ทำคลอดกันโดยหมอตำแยตามมีตามเกิด แม้แต่ผมเองก็ไม่ได้เกิดในโรงพยาบาล เกิดกับหมอตำแยภูมิปัญญาชาวบ้านนั่นแหละ…นั่นเป็นเหตุการณ์ในอดีตที่บ้านนอกต่างจังหวัด ไม่มีหมอ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ปัจจุบันหมู่บ้านที่อยู่ลึก ๆ ห่างไกลของอำเภออมก๋อย ยังทำคลอดกันเอง ผมเชื่อว่าไม่เฉพาะที่อมก๋อยเท่านั้น ยังมี แม่แจ่ม ของเชียงใหม่ สบเมย แม่ฮ่องสอน และท่าสองยาง จังหวัดตาก ถึงแม้จะอยู่ในเขตบริการของสถานีอนามัย และโรงพยาบาลประจำอำเภอ

ใบพลู พืชหล่อเลี้ยงชีวิตนอกฤดู

บ้านแม่เกิบ บ้านแม่ฮองกลาง บ้านแม่ฮองใต้ บ้านห้วยหวาย  ๔ หย่อมบ้านนี้ การคมนาคมลำบากพอสมควร ทำให้การประกอบอาชีพต่าง ๆ ไม่ค่อยมีทางเลือกมากนัก ผมไม่ทราบว่าบ้านอื่น ๆ จะมีอาชีพเสริมอะไรบ้าง แต่ที่บ้านแม่ฮองกลาง ใบพลู เป็นอีกพืชชนิดหนึ่งซึ่งทำรายให้กับชาวบ้านในยามว่าง และเวลาไม่มีรายได้อื่น จะว่ารายได้เสริมเลยก็ไม่เชิง เพราะการปลูกข้าวในไร่ข้าวนั้น เป็นการปลูกเพื่อยังชีพ การเลี้ยงวัว เลี้ยงควาย ก็ไม่ได้ขายกันทุกวัน แต่ใบพลูนี่สามารถทำเงินให้กับคนขยันได้ตลอดเวลา แรก ๆ ที่ไปอยู่ และเห็นเขาเก็บมาขายก็คิดว่าใครขยันก็เก็บได้ตลอดเวลา มาทราบภายหลังว่าเขาจะมีการจับจอง หรือแสดงความเป็นเจ้าของโดยรู้กันในชุมชนว่าต้นไหนเป็นของใคร ที่แม่ฮองกลางใบพลู เป็นเหมือนพืชที่หล่อเลี้ยงชีวิตชาวบ้านนอกฤดูเก็บเกี่ยว ให้มีรายได้เข้ามายังครอบครัวและชุมชนบ้าง โดยจะนำมาต้ม แล้วใส่ตระกร้าจนเต็ม แล้วแบกขึ้นเขาไปขายยังฝั่งตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮองสอน ที่จะมีรถยนต์วิ่งมารับตามถนนบนสันเขา ๑ ตระกร้าหนักหลายกิโลกรัม เพราะใบพลูที่ต้มแล้วจะอุ้มน้ำและยุบตัว แถมยังต้องแบกขึ้นเขาไปอีก ๓-๔ กิโล กว่าจะถึงจุดที่รถยนต์ของพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ ผมเดินตัวเปล่ายังพักแล้วพักอีก แต่คนที่นี่แข็งแรงจริง ๆ ครับเพราะอยู่กับธรรมชาติ กินผัก และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จากการค้นข้อมูลทางในอินเตอร์เน็ต พบว่าใบพลูมีสารยับยั้งเซลมะเร็งในกระเพาะอาหารได้ ถึงว่าคนที่อายุเกือบร้อยก็มีหลายคน

กับดักนก ภูมิปัญญาที่เด็กก็ทำได้

นกสัตว์ดึกดำบรรพ์คู่กับโลก เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่ง ที่ไม่ว่าพื้นที่ไหน ๆ ของไทยก็นิยมกินเป็นอาหาร เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ได้ซื้อหนังสติ๊กไปฝากเด็ก ๆ ความตั้งใจคือฝากเพื่อไว้ยิงแข่งกันเป็นกีฬาหรือให้ช่วยยิงไล่หมู หรือแพะที่เข้ามารบกวนแปลงเกษตร ของศูนย์การเรียนฯ เท่านั้นเอง แต่เด็ก ๆ ก็เอาไปยิงนก แน่นอนให้ไปแล้วคงจะห้ามได้ยาก เพราะวิถีชีวิตของชุมชน เด็ก ๙ – ๑๐ ขวบก็สามารถหาอาหารมาประทังชีวิตในแต่ละมื้อได้แล้ว มาวันหนึ่งผมต้องแลกปลากระป๋อง ๑ กระป๋องและบะหมี่ ๑ ห่อ กับชีวิตของนก ๑ ตัว แต่ผมคงไม่สามารถแลกได้ตลอดเวลาที่จะคงความสวยงามของธรรมชาติไว้ นอกจากหนังสติ๊กแล้ว กับดักนก เป็นอีกอุปกรณ์หนึ่งที่เด็ก ๆ ใช้ในการดักจับนกมาเป็นอาหาร ถามว่าใครทำให้ เด็ก ๆ บอกว่าทำเอง เห็นแล้วอึ้งและทึ่งในภูมิปัญญาและความสามารถของเด็ก ๆ

เลี้ยงผีไร่….ฆ่าหมู…..กินหนู

ในเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ ได้มีโอกาสไปร่วมประเพณีเลี้ยงผีไร่ ของบ้านแม่ฮองกลาง ตามคำชวนของนักเรียนและผู้ปกครอง ก็เลยไปที่ไร่ตามคำชวน มีสัตว์อยู่ ๒ ประเภท ที่เลี้ยงไว้เพื่อทำพิธีกรรมต่าง ๆ คือ ไก่และหมู นอกนั้นเลี้ยงไว้เพื่อกินเนื้อบ้าง ขายบ้างคือ แพะ วัว และควาย หมูจะถูกเลี้ยงไว้เพื่อนำมาใช้ประกอบพิธีหรือประเพณีเลี้ยงผีไร่ ส่วนไก่จะเลี้ยงไว้เพื่อใช้ประกอบพิธีมัดมือ ในการทำบุญเมื่อหายจากเจ็บป่วย การไปที่ไร่ครั้งนี้จึงได้เห็นภาพการ ชำแหละหมู แต่ที่ไม่คาดคิดมาก่อนคือ ได้กินหนูด้วย  ก็เนื่องจากในไร่ข้าวนั้นจะมีหนูมารบกวนไร่ข้าว คอยกัดกินข้าวของชาวบ้าน โดยเฉพาะในฤดูเก็บเกี่ยว ที่จะมาถึงในเร็ว ๆ นี้ ชาวบ้านในถิ่นนี้ จึงมีภูมิปัญญา ในการดักหนู เพื่อนำมาประกอบอาหาร ภาพที่เห็นคือ…หลังจากพ่อเผาขนหนูเสร็จ ก็จัดการเด็ดหางหนูที่ไหม้ ๆ กึ่งสุก ให้ลูกชายวัย ๔ ขวบไปแทะเล่นทันที ภาพที่เห็นกับตานั้นคงไม่สามารถแพร่ภาพได้ คงสามารถให้ดูได้เฉพาะในการประกอบอาหารเท่านั้น……ครับ

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.