เริ่มเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยว 2555 แล้ว
ขึ้นดอยเดือนตุลาคม ข้าวพันธุ์เบาบางส่วนเริ่มได้เก็บเกี่ยวกันบ้างแล้ว
ขึ้นดอยเดือนตุลาคม ข้าวพันธุ์เบาบางส่วนเริ่มได้เก็บเกี่ยวกันบ้างแล้ว
การเลี้ยงผีไร่ผีนา ชุมชนกะเหรี่ยงเชื่อว่า จะทำให้ข้าวในไร่นาอุดมสมบูรณ์ ให้ผลผลิตเพียงพอต่อการบริโภค
httpv://youtu.be/2xtzYEG2LVE น้อง ๆ เด็กโตบางส่วนต้องไปช่วยงานในไร่แล้วเพราะฝนตกลงมา ข้าวขึ้น หญ้าก็เริ่มโตต้องไปตัดหญ้า
ไร่หมุนเวียน ความภูมิใจในภูมิปัญญา กับปัญหาปากท้องของคนบนพื้นที่สูง ที่ต้องต่อสูักันต่อไป
เป็นความงดงามในวิถีชีวิตของชุมชนบนพื้นที่สูง ณ อมก๋อยแห่งนี้ ที่ยังได้เห็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความเป็นพี่ เป็นน้อง ความสามัคคีของชุมชน ขึ้นดอยต้นเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ โชคดีที่ชาวบ้านปลูกข้าวยังไม่เสร็จ เลยได้โอกาสเข้าร่วมกิจกรรมปลูกข้าวกับชาวบ้าน สิ่งที่ไม่คิดว่าจะมี จะได้เห็น กลับพบเห็นได้ที่นี่ ที่อมก๋อย นั่นคือการลงแขกปลูกข้าว วันหนึ่ง ๆ ทั้งหมู่บ้าน จะไปช่วยกันปลูกข้าวของแต่ละบ้าน ซึ่งไร่ใหญ่แค่ไหน ไกล ลำบากแค่ไหน ก็ใช้เวลาเพียง สองถึงสามวัน ก็สามารถปลูกข้าวไร่เสร็จแล้ว ซึ่งวิถีชีวิตการลงแขกแบบนี้แทบจะหาไม่ได้แล้ว ในวัฒนธรรมของคนพื้นราบ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการจ้างแรงงานแทน เป็นสุขใจที่อยู่ท่ามกลางความลำบาก แต่มากด้วยน้ำใจ ที่หาได้ยากยิ่งในยุคที่คนทำมาหาเก็บ แต่ที่นี่ คนทำมาหากิน เพื่อปากท้องจริง ๆ
ขึ้นดอยไปเดือนพฤศจิกายนนี้ เด็กโตส่วนใหญ่ไปช่วยงานตีข้าวในไร่จึงทำให้ขาดเรียนไปหลายคน สาย ๆ ของวันหนึ่งหลังจากที่สอนไปได้สักพัก และให้งานเด็ก ๆ ทำในศูนย์การเรียนฯ ผมจึงได้เดินทางไปไร่ข้าวเพื่อไปดูเด็ก ๆ ตีข้าวช่วยพ่อแม่ผู้ปกครอง เมื่อไปถึงไร่ข้าวหลังจากที่ถามไถ่ เรื่องการเกี่ยวข้าว ตีข้าว และผลผลิตของปีนี้แล้ว ผมก็สวมวิญญาณลูกชาวนาอิสานบ้านเกิด ที่มันฝังอยู่ในสำนึก เดินเข้าไปช่วยตีข้าวในทันที ไปเยี่ยมดูเด็ก ๆ ที่กำลังตีข้าวช่วยพ่อแม่อยู่ ๔ ที่ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กัน ผมเข้าไปช่วยเด็กและผู้ปกครองตีข้าวไป ๒ ที่ ในการเข้าไปในไร่ข้าว เขาจะเดินผ่านสถานที่ตีข้าวไม่ได้ น้องยงยุทธเด็กที่ไปด้วย จะคอยเดือนตลอดว่าไม่ให้เดินผ่ากลางสถานที่ตีข้าว ให้เดินอ้อมไป เวลาจะกลับก็ให้กลับทางเดิม ซึ่งเป็นประเพณีความเชื่อของชุมชน แต่ที่ผมทำผิดไปโดยไม่รู้ตัว และไม่ได้รับการเตือนก่อนคือการเข้าไปช่วยตีข้าว ๒ ที่ ที่ไปดูเด็ก ๆ ช่วยผู้ปกครองตีข้าว ที่บอกว่าทำผิดเพราะชุมชนกะเหรี่ยงที่นั่นมีความเชื่อว่า ถ้าตีข้าวจะต้องไปตีตลอดจนกว่าจะเสร็จ ไม่เช่นนั้นแล้วจะได้ข้าวในปริมาณน้อยลง ผมก็พยายามชี้แจงกับเด็ก ๆ ว่าข้าวที่เกี่ยวมาแล้วกองอยู่ที่เดียวกัน มันจะลดลงได้อย่างไร เกี่ยวมาเท่าไหร่ ก็ได้เท่านั้น มันจะเพิ่มขึ้น หรือลดลงไม่ได้ เป็นความเชื่อประเพณีของชุมชนจริงเพราะหลังจากนั้น ผมได้รับคำแซวจากผู้ใหญ่ในชุมชนว่า