คำถามนั้นไม่เคยลืม เมื่อมาเป็นครูอาสา

อย่างที่เคยเล่าไว้ว่า เหตุผมที่ผมเลือกมาเป็นครูอาสา บ้านแม่ฮองกลาง ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อยมีเหตุผลง่าย ๆ ๑. ได้ปรึกษาพี่แอ๊ะโรงเรียนของหนูว่า “สอบเป็นครูอาสาได้” พี่แอ๊ะใจดีแนะนำให้ลงพื้นที่ตำบลนาเกียนหรือสบโขง ที่ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ ๒. ไม่รู้จะเลือกลงพื้นที่อย่างไร หมู่บ้านนี้ไม่เคยรู้จักมาก่อน แม้แต่อำเภออมก๋อยก็ยังไม่เคยมา เลยเลือกเพราะเลขตำแหน่ง ๘๔๘ เลขสวยดี หลังจากสอบติด ก็ได้รับกำลังใจจากครูอาสาที่เคยร่วมกิจกรรมด้วยกัน โดยมีอยู่ ๓ คนที่เป็นส่วนสนับสนุนการตัดสินใจให้ผมมาอมก๋อย ๑. พี่สุรัตน์ผู้อยู่เบื้องหลังหลาย ๆ กิจกรรม บอกว่า “คนต้นทุนต่ำ ไม่มีอะไรจะเสีย ทำอะไรดี ๆ ย่อมดีมากกว่าเสีย” ๒. ครูพี่จิ๋วอาสารุ่น ๑ บอกว่า “พร้อมที่จะเป็นกำลังใจและช่วยเหลือสนับสนุน ในกิจกรรมเพื่อเด็กดอยเสมอ” ๓. อีเมวจากครูโอเล่อาสารุ่น ๑, ๒ ว่า “แบ้งค์พัน ถึงจะอยู่ที่ไหน ค่าก็อยู่ที่ตัวของมัน แม้อยู่ในถังขยะ ค่าก็ไม่ได้ลดลงไป” เมื่อตัดสินใจมาเป็นครูอาสา ทำให้ผมนอนไม่หลับอยู่หลายคืน เพราะกังวลกับพื้นที่ใหม่ ก่อนเดินทางมารายงานตัว ๒ วันก็ได้รับคำแนะนำดี

ครูอาสา ครูไทย ครูเถื่อนเพราะ…วุฒิครู

ประชุมเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ทำให้ได้รับทราบข้อมูลจากอาจารย์สุรเดชฯ ผู้ประสานงานโครงการพระราชดำริในสมเด็จพระเทพฯ เรื่องคุณภาพนักเรียนระดับประถมศึกษา ที่จำนวนครูมากมาย ครูชำนาญการพิเศษกว่า ๒๐๐,๐๐๐ คน ครูชำนาญการกว่า ๑๕๐,๐๐๐ คนทั่วประเทศ แต่คุณภาพของเด็กกลับยิ่งแย่ลง เด็กทั่วประเทศสอบ NT ไม่ผ่านเกณฑ์ ก่อนหน้านั้นก็เคยได้ทราบข่าวเด็ก ป.๓ อ่านหนังสือไม่ได้ตามเกณฑ์ เคยทราบว่า ปัญหาที่มาทั้งหลายเกิดจากการที่ระบบราชการครู ที่ต้องให้ครูทำผลงานวิชาการ เพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้ได้ค่านั่น ค่านี่ เข้ามาในเงินเดือน ทำให้ครูทั้งหลายลืมบทบาท และหน้าที่ความเป็นครูของตนเองไป ครูอาสาฯ หรือครูดอยที่สังกัด กศน.ไม่ได้เป็นข้าราชการ เป็นเพียงพนักงานของรัฐ ต่างก็พยายามที่จะสอบบรรจุเป็นข้าราชการครู เพราะสวัสดิการต่าง ๆ ดีกว่า ครูดอยที่มีใบประกอบวิชาชีพครูส่วนใหญ่ จึงทำงานสอนเพื่อรอสอบบรรจุ เป็นข้าราชการครูสังกัด สพฐ, สพท. มีครูอาสาบางส่วน และรวมทั้งตัวผมเองด้วยที่ต้องกลายเป็นครูเถื่อน เพราะไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู ที่จริงแล้วคำว่าครูยิ่งใหญ่มาก ผมเป็นอีกคนที่ไม่ได้จบสายครู และไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู แต่เป็นครูเพราะใจรัก เพราะเคยฝันว่าอยากจะเป็น ผมละอายใจเวลาที่ใครต่อใครเรียกว่าผมครู เพราะมันเป็นคำที่มีความหมายและการรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง ผมยังไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะเรียกว่าครูได้ ไม่อยากรับคำนั้นด้วยซ้ำ แต่ด้วยสถานนะการทำงาน จึงต้องสวมหน้ากาก ใส่หัวโขน

อุปสรรคเป็นแค่เรื่องผ่านมาแล้วผ่านไป

หลายคนเป็นบอกว่า ปัญหามีไว้แก้บ้าง มีไว้วิ่งชนบ้าง แต่สำหรับผมปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ แค่เหตุการณ์หนึ่งที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป บางเรื่องก็จดจำได้บางเรื่องก็ไม่อยากจำ ก็เท่านั้นเอง ขึ้นดอยเดือนนี้เป็นอีกเดือนที่ไม่กล้าอาจหาญชาญชัยตะลุยเดี่ยว เพราะประสบการณ์ที่เกิดในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นประสบการณ์สอนเราอย่างดี พร้อมทั้งเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่มีมาก่อน จึงได้รอขึ้นดอยพร้อมกันกับครูอีกหลาย ๆ หมู่บ้านรวมทั้งน้อง ๆ ครู กพด. ที่แน่นอนผมหวังลึก ๆ ว่าหากมีอะไรน้อง ๆ เหล่านั้นที่อยู่ในวัยยี่สิบต้น ย่อมสามารถช่วยผู้อาวุโสอย่างผมได้ รวมทั้งความเป็นชนเผ่าของน้อง ๆ ครู กพด. ทำให้เหมือนเป็นใบเบิกทางในการสื่อสารต่าง ๆ ด้วย ในกลุ่มแม่ฮองที่เดินทางครั้งนี้มีครูทั้งหมด ๘ คน ๗ ศูนย์การเรียน รถมอเตอร์ไซด์ ๖ คัน เมื่อถึงสามแยกนาเกียน-ใบหนา เราก็ต้องแยกทางกัน กลุ่มผมแยกเข้าไปบ้านใบหนารถ ๔ คัน ๕ คน อีกกลุ่มแยกไปเส้นทางบ้านนาเกียน รถ ๒ คัน ๓ คน หลังจากเดินทางผ่านไปได้ประมาณ

มาแบ อมก๋อย เพลงสั้น ๆ แต่ความหมายกินใจ

มาแบ อมก๋อย  เพลงสั้น ๆ แต่ความหมายกินใจ “มาแบ มาแบ อมก๋อย ลงจากดอย มาแบ นักแก ชูเดชะ อามู อาแพ ชูเดชะ อามู อาแพ คิดถึงพ่อแม่ คิดถึง บนดอย” แปลความได้ว่า ไม่สนุก ไม่สนุก อมก๋อย ลงจากดอย ไม่สนุก มากเลย (คำว่า นักแก เป็นภาษาเหนือ) คิดถึงพ่อ คิดถึงแม่ คิดถึงพ่อแม่ คิดถึง บนดอย เมื่อได้ยินเพลงนี้ครั้งแรก มันสนุกในทำนองและสำเนียง แต่เมื่อได้ถามคำแปลแล้วทำให้ได้ทราบว่า วิถีชีวิตของเด็กบนดอย ที่เป็นอิสระ และความสุข แบบดอย ๆ เด็กเขาคงจะปรับตัวยากเมื่อลงดอย การได้ใช้ชีวิตในตัวอำเภออมก๋อย ถึงแม้จะมีความพร้อมกว่าในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคม การศึกษา การสื่อสาร และอาหารการกิน หากแต่เด็กก็คือเด็ก ยังคิดถึงพ่อแม่ คิดถึงบ้านบนดอย

ครูผู้ช่วยที่ต้องรับผิดชอบ มากกว่าผู้ช่วยครู

แทบจะไม่เคยเขียนเรื่องถึงครูผู้ช่วยของ ศศช.บ้านแม่ฮองกลางเลย ครูชิ หรือนายนำโชค นิมิตคีรีมาศ เป็นครูในโครงการ ครู กพด. (การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร) ในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพฯ ครูชิ จบม.๓ จากโรงเรียนบ้านนาเกียน แล้วมาต่อ ม.๖ ที่โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม ความโชคดีที่ได้เรียนต่อคือบ้านนาเกียนเป็นพื้นที่ที่มีโครงการพระราชดำริ เกี่ยวกับเกษตรพื้นที่สูง และอีกความโชคดีคือนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งองค์กรทางศาสนา ได้เข้ามาส่งเสริมสนับสนุนให้เด็ก ๆ ที่พ่อแม่ผู้ปกครองนับคือคริสต์ได้เรียนในระดับที่สูง ๆ ขึ้น ที่อำเภอไชยปราการ ชนเผ่ามูเซอเหลืองบ้านดอยเวียง จะได้รับการศึกษาดีมาก โดยเด็กเมื่ออายุ ๑๐ ปีขึ้นไปจะถูกส่งไปอยู่บ้านพักหอพักศาสนาคริสต์ในอำเภอพร้าว และได้รับการศึกษาต่อที่อำเภอพร้าว พื้นที่อมก๋อย ก็มีองค์กรทางศาสนาเข้ามาบ้างเหมือนกันในจุดที่การคมนาคมสะดวก ใกล้กับบ้านพักผมที่อมก๋อยยังมีบ้านพักศาสนาบาไฮ ซึ่งเป็นทางเลือกให้สำหรับเด็กบ้านไกล ที่จะได้รับการศึกษาโดยมีองค์กรทางศาสนายื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ปัจจุบัน ครูชิ เป็นครูผู้ช่วย โดยได้ทุนจากโครงการพระราชดำริ มาเรียนต่อในระดับปริญญาตรีทางครุศาสตร์ ซึ่งทุกเดือนระหว่างวันที่ ๓๐ ของเดือน ถึงวันที่ ๕ ของเดือนถัดไป จะต้องลงมาเรียนที่โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม โดยมีคณาจารย์จากมหาวิทยาราชภัฎเชียงใหม่ เข้ามาสอนให้ถึงที่ ณ โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม กศน.อำเภออมก๋อย มีครูผู้ช่วยในโครงการครู

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.