หัวใจมันพองโตแบบอธิบายออกมาเป็นคำพูดไม่ถูก

ในชีวิตเกิดมายี่สิบกว่าปี ไม่เคยมีใครที่ไหนเรียกตัวเองว่าครูมาก่อน และไม่เคยรู้ถึงความรู้สึกของคำๆนี้ว่าเป็นยังไง จนตัดสินใจลาพักร้อนบวกกับวันหยุดมาเป็นครูอาสาบนดอย ที่ๆไม่มีไฟฟ้า สัญญาณโทรศัพท์ ที่นี่มีแค่ชาวบ้าน ต้นไม้ น้ำตก ภูเขา ดวงดาว น้ำใจ และมิตรภาพ ครั้งแรกตอนที่รถเลี้ยวเข้าหมู่บ้านแล้วมีเด็กๆ ยกมือไหว้พร้อมเรียกคุณครู ความรู้สึกตอนนั้นทั้งเขิน ทั้งทำตัวไม่ถูก หัวใจมันพองโตแบบอธิบายออกมาเป็นคำพูดไม่ถูก อาชีพครูนี่ยิ่งใหญ่จริงๆ ยิ่งเป็นสถานที่ๆครูขาดแคลน ชาวบ้านและเด็กๆจะดูแลเรามากเป็นพิเศษ ถ้าป้อนข้าวได้คงป้อนให้เรากินละ >< ขอบคุณใครสักคนที่กำหนดให้ฉันตัดสินใจได้มาสอนหนังสือ ได้มานอนกับชาวบ้านที่น่ารักเหลือเกิน ได้มาเล่นกับเด็กๆ มันเป็นสิ่งที่ฉันรู้สึกภูมิใจในตัวเองมาก และสัญญาว่าจะกลับมาอีก ‪#‎คิดถึงเด็กๆ‬  (บันทึกโดยครูการิม)

บันทึกครูอาสาลอยกระทงดงดอยแม่ฮองกลาง

บันทึกครูอาสาลอยกระทงดงดอย-แม่ฮองกลาง 6-9 พฤศจิกายน 2557 บันทึกครูอาสา “เรื่องราวดี ๆ กับการมาเชียงใหม่ครั้งนี้” โดย ครูส้มโอ บันทึกครูอาสา A Journey to Mae Hong Klang โดย ครูบี บันทึกครูอาสา “ทริปที่โหดที่สุดตั้งแต่เกิดมา แต่ก็ประทับใจมากๆๆๆๆ เช่นกัน” โดย ครูนัท บันทึกครูอาสา อมก๋อยรำลึก โดย ครูปูเปรี้ยว บันทึกครูอาสา “ครูอาสา ณ อมก๋อย ฝันไกลๆที่ไปถึง” โดย ครูฟร้อนท์ “การมีฝันมันเป็นสิ่งที่ดี แต่การได้ทำตามฝันมันเป็นอะไรที่ยอดเยี่ยมกว่านั้น” บันทึกครูอาสา “ลอยกระทงดงดอย” โดยครู เบนซ์ ภาพบันทึกการเดินทาง “Baan Mae Hong Klang” โดย ครูเชอรี่ บันทึกครูอาสา “ลาพักร้อนไปสอนเด็กดอย” โดย ครูหญิง ภาพบันทึกกิจกรรมครูอาสา ครูอาสา 1, ครูอาสา

ฤดูฝน ถนนที่อมก๋อยโหดแค่ไหน ?

หลาย ๆ คนอาจจะมีคำถาม ทำไม ไม่จัดกิจกรรมทั้งปี ก็แค่วิถีชีวิตการเป็นครูดอย ช่วง 4 เดือนฤดูฝน ระหว่าง กรกฎาคม-ตุลาคม ของทุกปี พวกเราชาวครูดอย ก็ต้องงัดสารพัดวิธี เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย อย่างที่เห็น ขนาดใส่โซ่มัดกับยางรถแล้ว ไปคนยังไปไม่ได้  หากเป็นครูประจำหมู่บ้าน ไปเป็นกันเป็นหมู่คณะ ก็จะได้ช่วยกันระหว่างทาง หากแต่เป็นครูนิเทศก์ ที่ต้องเดินทางคนเดียว สภาพก็อย่างที่เห็น ไปต่อก็ไม่ได้ กลับก็ติด เหนื่อย ท้อ หิว ใกล้มืด แต่ต้องออกจากจุดนี้ไปให้ได้…..

[มะหมูพาเที่ยว] … ค่ายครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย ตอนที่ 3 (จบ)

ภาพและเนื้อหาฉบับเต็ม ๆ อยู่ที่ http://in-my-mind.diaryis.com/2011/12/24  โดย คุณหมอนาน่า     ตอนที่ ๑        ตอนที่ ๒ เช้าวันที่ 5 ตื่นเร็วกว่าเมื่อวาน ยังมืด ๆ อยู่เลยออกมานั่งรอดูพระอาทิตย์ขึ้น ^^ นั่งเล่นเงียบๆซักพัก แม่ก็เดินออกมานั่งใกล้ๆ พร้อมถือหม้อออกมาใบนึง แม่เปิดออกมา ก็เห็นว่าเป็นอะไรซักอย่าง ที่เหมือนรากไม้ต้ม อารมณ์ประมาณโสมทำนองนั้น ไอ้เราก็คิดว่ามันเป็นยา มันต้องขมแน่ๆเลย แม่ก็ชวนกิน หมูก็ทำหน้าปุเลี่ยน ๆ ถามแม่ว่าอร่อยมั๊ย ขมรึเปล่า กินยังไง แม่ก็ลอกเปลือกให้ดู อ๋อออ….. หน้าตามันเหมือนมันฝรั่งจิ๋ว ๆ รสชาติก็คล้ายๆกันค่ะ มันๆ กินเพลินๆ กินไปซักพัก แม่บอกว่าลองกินแบบไม่ลอกเปลือกดูสิ อ่ะ … จัดไปตามใจแม่ 1 อัน แต่ปรากฏว่า มันไม่อร่อยง่ะเปลือกมันเคี้ยวไม่ออก เลยบอกแม่ว่าขอลอกเปลือกเหมือนเดิมละกัน 555++ นั่งแทะกันอย่างเมามัน คุณพ่อคนนี้ก็อุ้มเด็กน้อยมาบนบ้าน ต้องบอกนิดนึงว่า

[ มะหมูพาเที่ยว ] … ค่ายครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย ตอนที่ 2

ภาพและเนื้อหาฉบับเต็ม ๆ อยู่ที่ http://in-my-mind.diaryis.com/2011/12/17  โดย คุณหมอนาน่า จากที่ทิ้งท้ายไว้หน้าที่แล้วตรงมื้อเที่ยงของวันแรก ที่หมูกลับไปซ่อมประตูห้องน้ำ 55++ ไดนี้ก็จะต่อกันที่กิจกรรมช่วงบ่ายค่ะ หลังจากแยกย้ายกันไปทำมื้อกลางวันเสร็จ ก็กลับมารวมตัวกันที่ รร. อีกครั้งจัดการให้เด็กๆเข้าแถว แล้วทำการแบ่งเป็นสามกลุ่ม กิจกรรมของช่วงบ่ายนี้ คือ “แข่งกีฬาเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างครูอาสากับเด็ก” ตัวหมูเองไม่ได้เข้าแข่งด้วย เพราะมีภารกิจต้องทำขนมหวานเลี้ยงเด็ก ๆ ต่อ แต่ก็แอบแว๊บ ๆ ออกมาดูบรรยากาศอยู่เป็นระยะ ๆ เกมแรกเริ่มแล้ว …. ผู้เข้าแข่งขันล้อมวงกัน ปรี้ดดดด …สิ้นเสียงนกหวีดเริ่มการแข่งขันเท่านั้นแหละ ฝุ่นตลบ!! ทั้งครูทั้งเด็กมุ่งมั่นกันมาก ๆ ตัวเล็กคนนี้ … ไปรอบก่อนยังเป็นเด็กยิ้มอยู่เลย มารอบนี้พูดเก่ง และแสบมาก พอเริ่มแข่งปุ๊บ โดนพี่โตๆไล่เหยียบลูกโป่งก็ตกใจ ทำท่าจะร้องไห้ ครูๆก็เลยแอบกระซิบว่า เดี๋ยวหนีอย่างเดียวเลยนะลูก พอเป่าเริ่มครึ่งหลังปุ๊บ ..หนูก็วิ่งตื๊ออ ออกมานอกวงไกลมาก แล้วก็ยืนรออยู่จนจบการแข่งขัน 555++ เกมต่อไป … เตรียมพร้อม นักกีฬาคนสุดท้ายนี่ สงสัยจะเป็นเด็กโข่ง 5555++ ซักพักเปลี่ยนเอาเด็กโข่งมายืนข้างหน้า เล่นก่อน

[มะหมูพาเที่ยว] …ค่ายครูอาสาลาพักร้อนมาสอนเด็กดอย ตอนที่ 1

ภาพและเนื้อหาฉบับเต็ม ๆ อยู่ที่ http://in-my-mind.diaryis.com/2011/12/13  โดย คุณหมอนาน่า ถึงหมูบ้านก็ประมาณทุ่มกว่า ๆ ก็แยกย้ายกันไปนอนตามบ้านของชาวบ้าน หมูได้นอนบ้านหลังเดิมกับคราวที่แล้วค่ะ เช้าวันที่ 4 ตื่นมาทำกับข้าว แล้วก็กินข้าวพร้อมๆกันกับเด็ก ๆ มัวแต่กินข้าวแล้วก็โอ้เอ้ …มาเลยเวลานัดรวมพล เลยโดนทำโทษ ให้เต้นเพลง “นกกระยาง” “นกกระยาง นกกระยางอยู่กลางทุ่งนา มองดูกุ้งหอยปูปลา มองดูกุ้งหอยปูปลา แล้วก็ป้าบ ป้าบ ป้าบ แล้วก็ป้าบ ป้าบ ป้าบ กุ๊กๆกิ๊กๆกั๊กๆ กุ๊กๆกิ๊กๆกั๊กๆ แล้วก็ป้าบ ป้าบ ป้าบ” ส่วนครูที่ไม่มีป้ายชื่อก็โดนทำโทษอีกกระทงนึง ให้เต้นเพลง “ไก่ย่างพิการ” “ไก่ย่างพิการ ไก่ย่างพิการ ปีกซ้ายมันก็หัก ปีกขวามันก็หัก ขาซ้ายมันก็หัก ขาขวามันก็หัก ตูดมันก็หัก คอมันก็หัก ร่อแร่ ร่อแร่ ร่อแร่ ร่อแร่” เด็กๆ จัดแถว!! เคารพธงชาติ สวดมนต์ แผ่เมตตา แล้วก็ร้องเพลงสดุดีมหาราชา

ความฝันที่ฝันไว้มา 10 กว่าปีเป็นจริง

การได้เป็นครูอาสาครั้งนี้ ทำให้ความฝันที่ฝันไว้มา 10 กว่าปีเป็นจริง ต้องขอขอบคุณครูพี่ตุ๋ม ที่กล้าชวน ซึ่งน้องก็กล้าไป และยังให้คำแนะนำมากมาย ขอบคุณเพื่อนขวัญที่คอยดูแลอยู่ไม่ห่าง ขอบคุณพี่โต้งที่คอยให้คำแนะนำกับครูอาสามือใหม่คนนี้ และขอบคุณครูอาสาเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนที่ทำให้ประสบการณ์ของแอนในครั้งนี้มีคุณค่าที่สุดประสบการณ์หนึ่งในชีวิต และที่ขาดไม่ได้ ขอบคุณครูต้อม สุดยอดครูดอย ที่ทำให้รู้ว่าอุดมการณ์มีค่ากว่าแก้วแหวนเงินทอง…นอกจากนี้ ต้องขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับชาวบ้านและเด็กๆ หมู่บ้านแม่ฮองกลาง ที่ได้สอนและทำให้แอนได้เรียนรู้กับคำว่า “พอเพียง” ที่แท้จริง การมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ ได้อย่างลงตัว โดยไม่ทำร้ายกัน ถ้ามีโอกาสเราคงได้พบกันอีกนะคะ By Anchalee Ekpakdeewattanakul (Albums) Updated on Friday, December 16, 2011 at 11:29am  Taken at บ้านแม่ฮองกลาง อ.อมก๋อย

รอยยิ้ม มิตรภาพ และหัวใจที่เบิกบาน

กุ๊งกิ๊งกุ๊งกิ๊ง เสียงกระดิ่งจากคอวัว ปลุกพวกเราให้ลุกขึ้นมาแต่เช้าตรู่ แม้ ว่าสภาพอากาศข้างนอกจะเย็นแค่ไหน แต่ก็ไม่ทำให้หัวใจเราย่อท้อ ครูหลายๆคนตื่นขึ้นมาตอนเช้า บ้างถือกล้องเดินสำรวจหมู่บ้าน บ้างช่วยพ่อกับแม่ทำกับข้าว บ้างคุยทักทายกันตามอัธยาศัย แสงหมอกเริ่มจางตัวลงตามแสงแรกของวันที่กำลังส่องแสงเข้ามาเยือนหมู่บ้านแม่ ฮองกลางแห่งนี้ พร้อมกับสายลมเย็นที่พัดมาชะโลมผิวจนขนลุก หมู่บ้านแห่งนี้เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ซึ่งมีชาวบ้านชนเผ่ากะเหรี่ยงอาศัยอยู่จำนวนไม่น้อย หมู่บ้านแห่งนี้มีไม่มีไฟฟ้าใช้บางบ้านดีหน่อยมีโซล่าเซลล์ แล้วตามแต่สถานภาพของแต่ละครอบครัว แต่ทุกๆ บ้านก็ทำให้เราได้เห็นว่าพวกเขาใช้สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้อย่างพอเพียง หลอดไฟฟ้าในแต่ละบ้านนั้นก็ใช้กันเพียงแค่หลอดเดียว ซึ่งเอาไว้ทำหน้าที่เพื่อส่องแสงสว่างในยามราตรีเท่านั้น การดำรงชีวิตยังเป็นแบบดั้งเดิมตามวิถีชีวิตของชาวบ้านทั่วๆ ไป ของชนเผ่า ซึ่งทุกชิวิตของที่นี่ก็สามารถดำรงชีวิตกันอยู่ได้ด้วยความสุข ถึงแม้ในแต่ละวันชาวบ้านแห่งนี้จะต้องออกไปทำไร่ทำนา ซึ่งส่วนมากก็ทำเพื่อเก็บเอาไว้กินเองตามฤดูกาล ยามใดที่แสงสีทองของตะวันส่องแสงรำไรๆ นั่นคือสัญญานที่บ่งบอกว่าทุกคนในครอบครัวจะต้องออกไปทำนากันแล้ว เหลือไว้ก็แต่เด็กที่ต้องไปโรงเรียน เด็กๆ ทุกคนที่นี่เติบโตกันมาได้ตามวิถีชีวิตที่ต้องต่อสู้ดิ้นรน และต้องรับผิดชอบต่อตัวเองเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่เด็กทุกคนที่นี่ได้รับคือความแข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ผู้ เขียนเองก็เคยเป็นหนึ่งของผู้คนที่เคยไปพบและประสบและได้สัมผัสชีวิตตามวิถี ชาวบ้านของหมู่บ้านแห่งนี้ ซึ่งเริ่มแรกก็มีความคิดที่ไม่ต่างไปจากคนอื่นๆ เลย นั่นก็คือพวกเขาอยู่กันได้อย่างไรในพื้นที่เช่นนี้แต่เมื่อเราได้เข้าไปอยู่ ท่ามกลางชาวบ้านทุกครัวเรือน เมื่อเวลาได้หมุนเวียนผ่านไป เมื่อได้หันมองไปรอบๆ ตัว สิ่งที่ได้เห็นก็คือ รอยยิ้มของทุกๆ คน ในหมู่บ้านแห่งนี้นั้นทำให้เราประจักษ์ได้ว่า ณ ที่แห่งนี้นั่นแองที่คือความสุขของพวกเขา แต่ความทุกข์ คือสิ่งที่เราทุกคนต่างเป็นผู้ยัดเยียดความรู้สึกแบบนี้ให้กับพวกเขาเอง เพราะเราทุกคนต่างคิดกันเอาเองว่า ถ้าเขาได้รับความสะดวกสบายเหมือนที่เราเป็นอยู่ และเขาคงมีความทุกข์มากที่ในแต่ละวันไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง

Copy Protected by Chetan's WP-Copyprotect.