ธรรมชาติ กับความเชื่อของชนเผ่า
เหมือนจะเคยอ่านหนังสือหรือบทความเกี่ยวกับธรรมะ ที่บอกว่ามนุษย์สมัยก่อน อยู่กับธรรมชาติและความกลัว กลัวนั่น กลัวนี่ เลยต้องมีพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อมาบวงสรวง บูชาธรรมชาติขึ้น อย่างน้อยก็ทำให้สบายใจจากภัยธรรมชาติ หรือไม่ให้ธรรมชาติลงโทษนั้นเอง เมื่อมีพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าสอนว่า ไม่ให้เชื่อสิ่งต่าง ๆ จนกว่าจะได้พิจารณาให้ถ่องแท้แล้วตามหลักกาลามะสูตร ๑. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่าฟังจากคนอื่นเขาบอกต่อ ๆ กันมา ๒. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่าเห็นเขาทำตามๆกันมา ๓. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่าผู้คนกำลังเล่าลือกันอยู่ ๔. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่ามีตำราอ้างอิง ๕. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่ามีเหตุผลตรงๆมารองรับ(ตรรกะ) ๖. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่ามีเหตุผลแวดล้อมมารองรับ(ปรัชญา) ๗. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่านึกเดาเอาตามสามัญสำนึกของเราเอง ๘. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่ามันตรงกับความเห็นเดิมที่เรามีอยู่ ๙. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่าผู้พูดผู้สอนนี้อยู่ในฐานะที่น่าเชื่อถือ ๑๐. อย่าเชื่อและรับเอามาปฏิบัติ เพียงเพราะว่าผู้พูดผู้สอนนี้เป็นครูอาจารย์ของเราเอง เมื่อพายุฝนเกิดขึ้นในเดือนมีนาคม แบบติดกันหลายวัน ในช่วงที่ผ่านมา ในมุมดี ๆ สำหรับสวนเกษตรในศูนย์การเรียนคือไม่ต้องรดน้ำสวนเกษตรบ่อย และคลายความร้อนลงไปได้