ค่ายอาสากิจกรรมวันเด็ก โดยครูนุ (นุนิ ข้าวหอม)
httpv://www.youtube.com/watch?v=D7WeOolUHc4&autoplay=0
httpv://www.youtube.com/watch?v=D7WeOolUHc4&autoplay=0
ค่ายอาสากิจกรรมวันเด็ก 58 โดยครูสัน (Santisuk Amphan) httpv://www.youtube.com/watch?v=w_VP2RlPauo&autoplay=0
เกิดบนแผ่นดินไทย พ่อมีสัญชาติไทย แต่เด็กไทยไม่มีบัตร httpv://www.youtube.com/watch?v=tGBr2roNYwg On Air ทาง ThaiPBS เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2555 เวลา 20.25 น. (มีปัญหาในการรับชมให้ Update Flash Player) Original : http://clip.thaipbs.or.th/home.php?vid=3118&ap=flase
โครงการคืนความเป็นไทยให้เด็กดอย (พิสูจน์ DNA) ความทุรกันดารของอำเภออมก๋อย ทำให้เมื่อ 10-20 ปีที่แล้ว ข่าวสารต่าง ๆ ยากจะเข้าไปถึงชุมชน เด็กที่เกิดในถิ่นที่ห่างไกล ไม่ได้รับการแจ้งเกิดจำนวนมาก ด้วยเหตุผลการคมนาคมขนส่ง หรือความไม่รู้และไม่เห็นความสำคัญของการมีบัตรประชาชน เพราะชีวิตส่วนใหญ่อยู่กับการทำไร่ เพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ไม่ได้ออกไปติดต่อชุมชนภายนอก หนึ่งในนั้นคือชุมชนบ้านห้วยหวาย หมู่ 1 ตำบลนาเกียน อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีเด็กตกหล่นจำนวนมาก โดยเด็กเหล่านี้มีพ่อหรือแแม่เป็นคนไทย ได้บัตรประจำตัวประชาชน แสดงถึงความเป็นผู้มีสัญชาติไทยแล้ว แต่ลูกไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎรใด ๆ ทั้งสิ้น ที่จะใช้ระบุสถานะบุคคลของตนได้ จึงขาดโอกาส รายละเอียด http://www.4dekdoi.com/home/?page_id=1735
httpv://youtu.be/2xtzYEG2LVE น้อง ๆ เด็กโตบางส่วนต้องไปช่วยงานในไร่แล้วเพราะฝนตกลงมา ข้าวขึ้น หญ้าก็เริ่มโตต้องไปตัดหญ้า
ครูครับ ผมมีเพื่อนใหม่… ตัวใหญ่มาก ครูครับ ที่โรงเรียนเรียนสนุกมาก ครูครับ ที่โรงเรียนมีของเล่นเยอะมาก เล่นไม่เบื่อ ครูครับ ผมเล่นฟุตบอลที่โรงเรียนสนามใหญ่มาก ครูครับ ที่โรงเรียนคอมพิวเตอร์เยอะมาก ครูครับ เรียนที่นี่ เรียนไม่ยากเหมือนบนดอย ครูครับ กินเข้าเที่ยงไม่อิ่ม คนเยอะมาก อยากมากินที่บ้านครู ครูครับ คุณครูที่โรงเรียนบ้านหลวงใจดี ซ่อมจักรยานให้ผม ครูครับ มีเด็กบางคนดื้อ ถูกครูตีด้วย ครูครับ …….. เมื่อโรงเรียนเปิดเทอม จึงมีหลากหลายเรื่องเล่าจากเด็ก ๆ ที่กลับมาเล่าให้ฟัง พื้นฐานของเด็กกลุ่มนี้ เรียนกับ ศศช. บนดอยมาก่อน เมื่อมาเจอสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ จึงเป็นเรื่องตื่นเต้นที่เจอสภาพแวดล้อมและเป็นประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่ไม่คุ้นเคย นอกจากการเรียนบนดอย คงได้แต่รับฟัง อธิบาย ให้คำแนะนำพร้อมกำลังใจ ให้แก่เด็ก เพราะรู้ว่าการได้ทุนลงมาเรียนนอกหมู่บ้าน พวกเขาจะต้องเจอประสบการณ์และอุปสรรคใหม่ ๆ อีกมากมาย ที่จะต้องจดจำตลอดไปเมื่อเติบโตขึ้น
httpv://youtu.be/WkAX3dhczfI เรื่องราวการแบ่งปัน ของเด็ก 2 คน ที่มีความคิดแบบเด็ก ๆ ดูแล้วกินใจ เรื่องราวดี ๆ ที่นำมาแบ่งปัน ขอขอบคุณเจ้าของลิขสิทธิ์ และโครงการดี ๆ แบบนี้ Credit Post by : Breezechangeworld Url : http://www.youtube.com/user/Breezechangeworld Share by : บิลลี่ น่ารู้ Url : http://www.facebook.com/billysurasit
ครูก้อยหนึ่งในอาสาสมัครที่เคยร่วมกิจกรรม เป็นผู้ที่คอยสนับสนุนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังอยู่หลายกิจกรรม หลังจากที่ได้ร่วมกิจกรรมเมื่อปี 2552 ปัจจุบันได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม 4Dekdoi และได้ร่วมกิจกรรม Visit Dekdoi 2012 เมื่อวันที่ 25 – 28 มกราคม 55 ที่ผ่านมา และคงได้เห็นสภาพบนดอยที่เปลี่ยนไป จึงได้ถามผมว่า “เป้าหมายคืออะไร” เป็นคำถามที่ผมต้องคิดย้อนกลับไปเมื่อมาเป็นครูอาสาในกลางเดือนมีนาคม 2553 สภาพที่เห็นในตอนนั้น มันไม่มีอะไรเลย มีแต่อาคารเรียนที่ใช้ในการเรียนการสอนอย่างเดียวเท่านั้น สวนกล้วยที่มีรอบบริเวณถามไปถามมา ก็ไม่ใช่ของศูนย์การเรียน แล้วอะไรที่ควรทำตามเป้าหมายที่ได้รับมอบมา หลาย ๆ กิจกรรมจึงเป็นการทำแบบผสมผสานดังนี้ – กลุ่มเป้าหมายนักเรียนด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดาร 3 – 15 ปี – ส่งเสริมการรู้หนังสือในกลุ่มผู้ใหญ่-ผู้ใช้แรงงาน – การส่งเสริมสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก – การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม – การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น – การส่งเสริมภาวโภชนาการในเด็กวัยเรียน – โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน – การลดภาวะการขาดสารไอโอดีนในเด็กพื้นที่สูง – กิจกรรมด้านอนามัยเด็กวัยเรียน การที่เด็กในชุมชนเติบโตขึ้นมาเมื่ออายุได้ 14
บางครั้งความตั้งใจที่จะทำงานในแต่ละที่แต่ละอย่าง มันก็มีเหตุให้ต้องเปลี่ยนแปลง เพราะความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ครั้งนี้เป็นอีกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงในชีวิตการทำงาน และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้ตั้งใจ เมื่อ ผอ.กศน.อำเภออมก๋อยคนใหม่ที่เพิ่งมารับตำแหน่งได้ ๓ เดือน สำหรับผมอาจจะหมายถึงผู้บังคับบัญชาเก่า หรืออาจจะเรียกว่าเจ้านายเก่า ที่เห็นมองศักยภาพความสามารถที่จะดึงมาเป็นทีมงาน ก่อนหน้า นั้น ก็ได้แจ้งท่านผอ.ไปแล้วว่าชอบทำงานบนดอยมากกว่า แต่สุดท้ายก็ได้รับการพิจารณาให้ปรับเปลี่ยนหน้าที่ใหม่ ผมจึงถูกเรียกตัว จากครูผู้สอนบนดอย ให้มารับหน้าที่ใหม่เป็นครูนิเทศก์ ของกลุ่มโดยดูแลกลุ่มบ้านแม่ฮอง ซึ่งปรับกลุ่มใหม่ประกอบไปด้วย ศศช. บ้านห้วยหวาย บ้านแม่ฮองใต้ บ้านแม่ฮองกลาง บ้านแม่เกิบ บ้านกองดา และบ้านห้วยบง ตั้งแต่วันแรกที่ขึ้นดอยในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่จะเป็นครูผู้สอน ศศช.บ้านแม่ฮองกลาง ตลอดเวลาก็ได้แจ้งให้เด็ก ๆ ได้เข้าใจในหน้าที่ใหม่ที่ครูจะไปทำ ก็ได้บอกกับเด็ก ๆ ตลอดว่าครูจะขึ้นมาบ่อย ๆ เท่าที่จะทำได้ ดูเหมือนว่าเด็กก็คือเด็ก คือฟังไปแต่ยังไม่คิดอะไรมากมาย จนเมื่อมาถึงวันสุดท้ายที่จะต้องลงดอยจากบ้านแม่ฮองกลางมา ก็เกิดปรากฎการณ์ที่ผมไม่คาดคิดมาก่อน “เด็ก ๆ พากันไปร้องไห้ เสียใจที่ครูจากไป” ทั้งตัวเล็ก ตัวโต ไปร้องไห้หน้าห้องน้ำหลังอาคารเรียน เด็ก ผู้ชายดูจะเก็บความรู้สึกไว้ได้
กรกฎาคมต่อไปยังเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่ลำไยออกสู่ทองตลาด ปีนี้ถึงแม้ลำไยในท้องตลาดจะราคาไม่ดี ลำไยขนาด AA ราคากิโลละ ๑๕-๑๖ บาท แต่ผลกระทบตกอยู่กับเจ้าของสวนเท่านั้น สำหรับชาวบ้านบนดอยและเด็กโตที่มารับจ้างขึ้นลำไย กลับไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะปีนี้ลำไยออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก (ตามความเห็นของผู้เขียน) เด็ก ๆ อายุ ๑๒-๑๖ ปีในหมู่บ้านหลายคนจึงออกมากับผู้ปกครอง มากับญาติ หรือมากับเพื่อน เพื่อมาหารายได้เสริมไปช่วยจุนเจือครอบครัว การเดินทางออกมารับจ้าง บางส่วนก็ออกมากับรถขายอาหารที่เข้าไปตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคม ซึ่งฝนยังไม่ตกมาก พอถึงปลายกรกฎาคมเดือนฝนตกชุกคนที่ออกมาหลัง ๆ จึงเดินเท้าออกจากหมู่บ้านแม่ฮองกลาง ออกมาทางบ้านแม่ปะน้อย บ้านห้วยม่วง ตำบลแม่สวด อำเภอสบเมย เพื่อมาขึ้นรถทางปากทางอุทยานแห่งชาติแม่เงา อำเภอสบเมย เพื่อขึ้นรถโดยสารต่อเข้าอำเภอแม่สะเรียง เข้าอำเภอฮอด และอำเภอจอมทอง บางส่วนข้ามแม่น้ำปิงไปยังฝังจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นแหล่งผลิตลำไย แหล่งใหญ่ในภาคเหนือ การออกมาทำงานปีนี้ถือเป็นครั้งแรกของเด็กหลาย ๆ คนที่ได้ออกมาทำงานนอกหมู่บ้าน ครั้นจะห้ามเด็กออกนอกหมู่บ้านก็ไม่ได้ ในเมื่อความจำเป็นเรื่องปากท้อง ยังเป็นสิ่งที่พ่อแม่ หรือแม้แต่ตัวเด็ก ๆ เองก็รับรู้ได้ ว่าหากท้องยังไม่อิ่มแล้ว มีหรือจะมีคิดเรื่องชีวิต เรื่องอนาคตได้ เรื่องของปากท้องจึงสำคัญกว่าเรื่องอื่นเสมอ เพราะชีวิตตั้งแต่เกิดมาก็มีแต่น้ำพริกเป็นอาหารหลักสามมื้อ เช้า-กลางวัน-เย็น